หุ้นกู้แปลงสภาพคืออะไร? Convertible Bond หรือ Convertible Debenture ? | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment



โลกของการลงทุน ที่มีความผันผวน นักลงทุนหุ้นสามัญจะได้รับผลกระทบกับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน ที่คาดเดาไม่ได้ถึงอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสภาวะที่เกิดขึ้นที่สงผลกระทบต่อการลงทุนที่หลากหลาย หุ้นแปลงสภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเหล่านักลงทุน  เพราะหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นถือได้ว่า เป็นหลักทรัพย์กึ่งหนี้ กึ่งทุน และมีความยืดหยุ่น โดยหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ทั่วไป โดยจะแตกต่างกันคือจะไม่คืนเงินต้นเมื่อครบอายุ แต่จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญตามระยะเวลา ราคา และอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเหมือนผู้ถือหุ้นกู้ ทั่วไปก็ต่อเมื่อได้นำหุ้นกู้นี้ไปแปลงสภาพหรือแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญตามสิทธิแล้วก็จะมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของบริษัทตามจำนวนหุ้น สามัญที่ได้รับคือหุ้นกู้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารในการแปลงสภาพหุ้นกู้ไปเป็นหุ้นสามัญตามสัดส่วน ช่วงเวลาและราคา..ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว... พูดกันง่ายๆก็คือหุ้นกู้ที่ถูกแปลงสภาพ เปลี่ยนจากเจ้าหนี้ ให้กลายมาเป็นเจ้าของนั้นเอง...

หุ้นกู้แปลงสภาพ(Convertible Debenture) เป็นตราสารหนี้ที่นักลงทุนสามารถเปลี่ยนจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกได้ตามราคาที่กำหนดโดยบริษัทผู้ออกจะออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่สถานะของนักลงทุนจึงเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของ และด้วยสถานะการเป็นเจ้าของ จึงทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อและราคาขาย(Capital Gain) หากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้าหากราคาหุ้นในตลาดยังคงต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในการแปลงสภาพ นักลงทุนก็สามารถเลือกที่จะไม่แปลงสภาพเป็นหุ้น และถือเป็นตราสารหนี้ต่อไปเพื่อรับดอกเบี้ยแต่ละงวดตามที่กำหนดไว้  ซึ่งข้อดี ของการลงทุนในหุ้นกุ้แปรสภาพ ผู้ลงทุนได้ทราบถึงราคาแปลงสภาพที่แน่นอน เพื่อจะได้ตัดสินใจไม่เลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในภาวะตลาดขาลง หรือซบเซา ผู้ลงทุนยังมีโอกาสในการตัดสินใจทำกำไรจากการขายหุ้น หรือแปลงสภาพหุ้น ในเวลาที่เหมาะสมได้ หุ้นกู้ประเภทนี้จะได้รับความนิยมในช่วงที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดี


ลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)  คือ
1 - เหมือนหุ้นกู้ แต่เมื่อแปลงสภาพแล้ว จะเหมือนหุ้นสามัญ
2 - สิทธิพิเศญของหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
2.1 - กรณีที่ยังเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับสิทธิในการชำระเงินคืน เงินทุนก่อนผู้ถืหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
2.2 - กรณีที่สิ้นสุดอายุตามที่ระบุไว้ จะได้รับสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
3 - ผลตอบแทนหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) คือ
3.1 - กรณีที่ยังเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ผลตอบแทน ก็คือดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด
3.2 -กรณีที่แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ผลตอบแทนจะกลายเป็นเงินปันผล และส่วนต่างราคากำไร-ขาดทุน จากราคาหุ้น (Capital Gain)



สิ่งที่ควรรู้ในหุ้นกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
1- ระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพ (Conversion Period)
ในส่วนนี้คือการกำหนดให้ผู้ถือหุ้นแปลงสภาพ ได้รับรู้ถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิแปลงสภาพชองหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ  ผู้ออกหุ้น อาจกำหนดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตลอดอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
2- วันแปลงสภาพ (Conversion Date)
วันแปลงสภาพคือ วันใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นแปลงสภาพขอยื่นจำนงในการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นเป็นหุ้นสามัญ การแปลงสภาพนี้มีผลในสถานะของผู้ลงทุน เปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนึ้  เปลี่ยนมาเป็นเจ้าของกิจการ นั้นคือผู้ถือหุ้นสามัญนั้นเอง
3- ราคาแปลงสภาพ (Conversion Price)
ในส่วนตรงนี้นั้น ผู้ออกหู้นกู้แปลงสภาพจะกำหนดราคาแปลงสภาพไว้ในหนังสือชี้ชวนเรียบร้อบแล้ว และบริษัทอาจจจะปรับปรุงราคาแปลงสภาพในระหว่างอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ อาทิอาจมีการเปลี่ยราคาพาร์ของหุ้นสามัญเป็นต้น
4- อัตราการแปลงสภาพ ( Conversion Ratio)
จำนวนหุ้นที่ผู้ถือจะได้รับและเปลี่ยนการแปลงสภาพ สมมุติว่า หุ้นกู้ 1 หุ้น มาเป็นหุ้นทุน อาทิเช่น  conversion ratio =50  แสดงว่าหุ้นกู้แปลงสภาพ 1 หุ้นสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ 50 หุ้น เป็นต้น
5- ราคาไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ (Redemption Price)
ราคาที่บริษัทกำหนดที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้ เมื่อถึงวันครบกำหนด หากผู้ถือหุ้นกู้ยังไม่มีการแปลงสภาพหุ้นกู้ของตนเอง อาจมีการบวกเพิ่มอัตราส่วนเกินเข้าไปในราคาไถ่ถอน แก่ผุ้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่ได้ใช้สิทธแปลงสภาพ (Premium Redemption)
6- บริษัทมีการกำหนดสิทธิของผู้ไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด (Call Option)
บริษัทมีการกำหนดสิทธิของผู้ไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด (Call Option) ณ ราคาเรียกคืน (Call Price) ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นหมดโอกาสที่จะทำกำไรสูงสุดจากการแปลงสภาพ และไม่ได้รับดอกเบี้ยจากหุ้นอีกต่อไป

หุ้นกู้แปลงสภาพมักจะได้รับความนิยมจากนักลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งนี้เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสได้รับ capital gain จากการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมสูงกว่าหุ้นกู้ปกติ นักลงทุนจึงยอมรับอัตราดอกเบี้ย ที่ค่อนข้างต่ำของหุ้นกู้แปลงสภาพ ในมุมของบริษัทผู้ออก การออกหุ้นกู้แปลงสภาพมีประโยชน์ในหลายกรณีเช่น ต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการออกตราสารหนี้แบบทั่วไป ทำให้บริษัทมีต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำลง


หุ้นกู้แปลงสภาพไม่ใช่หุ้นกู้ประเภทใหม่ที่เพิ่งมีการออก จริงๆ แล้วในอดีตที่ผ่านมามีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนวิกฤตปี2540 ที่ตลาดหุ้นคึกคัก มีบริษัทไทยที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพหลายบริษัทแต่ภายหลังจากวิกฤติปี 2540 ตราสารหนี้แปลงสภาพก็ได้ลดความนิยมลงมากจนกระทั่งปัจจุบันที่ตลาดหุ้นคงความร้อนแรงต่อเนื่องมาหลายปีติดต่อกัน ก็เริ่มมีหลายบริษัทหันมาออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันแล้ว ดังนั้นในยามที่ภาวะตลาดหุ้นที่หลายคนมองว่ายังไปต่อได้ การออกหุ้นกู้แปลงสภาพอาจกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเพราะจะช่วยให้ผู้ออกมีต้นทุนการกู้ยืมเงินลดลงและนักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำ หุ้นกู้แปลงสภาพจึงดูเหมือนเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าจับตามองต่อไป …

แน่นอนนะครับว่าก่อนลงทุนในหุ้นนกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)  ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของหุ้นนกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) ให้ดีย้ำนะครับว่าต้องศึกษาให้รอบครอบ ทั้งลักษณะ ผลตอบแทน ระยะเวลาลงทุน และเงื่อนไขของหุ้นนกูู้แปลงสภาพทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถทำให้นักลงทุน...ลงทุนในหุ้นกู้แปลง สภาพได้อย่างมั่นใจ และได้รับผลตอบแทนทีคุ้มค่าในเวลาที่เหมาะสมอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งนะครับ... สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ และกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สวีดัด สวัสดีครับ  ----- ^_^ -----

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4



บทความที่ได้รับความนิยม

บทความยอดนิยมตลอดกาล