ใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำตามไหม? | คุยกับ อ.ตรี ตอน 6

  

วันนี้จะทั้งตอบฅำถามและเขียนเป็นบทความให้ อาจารย์อาคมที่ขอมา

เริ่มที่ "ปุ๋ยไม่มีขา รากไม่มีมือ" หลายรายอ่านแล้วก็งงๆ ความหมายก็คือ เวลาเราใส่ปุ๋ย หลายคนมักจะไม่ค่อยสนใจเรื่ององค์ประกอบว่าใส่แล้วปุ๋ยแล้ว จะเข้าไปในพืชได้อย่างไร? หรือ พืชเอาไปใช้ได้อย่างไร? เนื่องจากทุกอย่างที่ใส่ลงไปในดินก่อนที่พืชจะนำไปใช้ต้องละลายเป็นสารละลาย หรือ แตกตัวเป็นอิออนก่อนถึงจะถูกดูดเข้าสู่ต้นไม้ ดังนั้นหลายคนมักจะถามว่าหว่านปุ๋ยเสร็จแล้วต้องรดน้ำมั้ย ก็ให้สังเกตุว่าใส่ปุ๋ยเสร็จ ปุ๋ยตกลงไปก็อยู่ตรงนั้น และขณะเดียวกันเมื่อมันตากแดดตากลมมากๆ

ธาตุบางตัวก็จะสูญเสียในอากาศโดยเฉพาะไนโตรเจน ดังนั้น จะสังเกตุว่าการออกแบบการใส่ปุ๋ย ผมจะออกแบบให้พืชสามารถนำไปใช้ได้เลย หรือ ฝากไว้กับวัสดุที่ใส่เสริมลงไปในดินในรูปของวัสดุฟื้นฟูดินสูตรต่างๆ หรือ แบบที่ย่อยแล้ว (สูตร 2) หรือ ใส่เสริมลงไปโดยเป็นสารละลาย หรือ ให้อยู่ในรูปอินทรีย์ คีเลต (Chelate)

(ปุ๋ยคีเลต (Chelate) เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในบริบทของปุ๋ยและการให้ธาตุอาหารในการเกษตร ปุ๋ยคีเลต หมายถึงปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่ถูกผูกเข้ากับสารอื่นที่เรียกว่า chelating agent (สารเชลเลต) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำธาตุอาหารเข้าสู่พืช)

ดังนั้น สรุปเวลาจะใส่ปุ๋ย ต้องไม่ถามว่าใส่ปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำมั้ย สองปัจจัยที่จะใส่เท่าไหร่ เมื่อไหร่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของต้น คุณภาพของดิน และ ฝนฟ้า อากาศ ข้อนี้คงจะไม่เป็นปัญหาอีกเรื่องที่จะต้องถามว่าจะสังเกตุอย่างไร? ก็ให้สังเกตุส่วนของพืชที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ฟื้นตัวไหม หรือถ้าเป็นยางก็ให้สังเกตุผลผลิตที่ค่อยๆฟื้นตัวนะครับ 

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ

  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ

  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

สรีระของพืชที่เกษตรกรควรรู้ : หน้าที่การทำงานของรากพืช | คุยกับ อ.ตรี ตอน 5


บทความวันนี้ผมอยากจะพูดเรื่องสรีระของพืชที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นภูมิความรู้ที่เราเกษตรกรต้องรู้และนำไปใช้กัน สรีระของพืชที่เกษตรกรต้องรู้ ก็คือ ต้นพืชมีองค์ประกอบที่ใช้ในการดำรงค์ชีพ คือ ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล แต่วันนี้จะขอพูดเรื่องรากในส่วนสำคัญๆ ที่อยากให้สมาชิกเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้ก่อน...

ราก คือ อวัยวะของพืชส่วนที่ใช้ดูดซับน้ำ และสารอาหาร มี 2 ประเภท คือ รากอากาศ และ รากในดิน ในส่วนของรากอากาศจะอยู่ในพืชประเภทกล้วยไม้ต่างๆ กาฝาก เป็นต้น จะมีรากที่ใช้เกาะยึดอาศัยพยุงตัว แต่ไม่เบียดเบียนและแย่ง หรือดูดทำลายพืชที่ให้อาศัยเป็นหลักเกาะยึด แต่อีกชนิดนึ่งจะสร้างรากแทงเข้าไปในเนื้อเยื้อพืชที่มันเกาะอยู่ แล้วแย่งดูดน้ำเลี้ยงที่พืชอาศัยเกาะอยู่ในลักษณะกาฝากกับพืชอีกชนิดที่มีรากหยั่งลึกลงไปในดินหรือในน้ำ และวันนี้จะขอใช้บทความนี้อธิบายให้สมาชิกบางท่านได้เข้าใจถึง "หน้าที่การทำงานของรากพืช"

แต่หน้าที่หลักที่พืชใช้รากในการดูดซับสารอาหารแล้ว พืชยังใช้รากในการยึดเกาะให้ลำต้น การจัดแบ่งรากนอกจากแบ่งในลักษณะดังกล่าวแล้ว รากพืชบางส่วนของพืชบางชนิดยังมีการพัฒนาเป็นทุ่นลอยน้ำ เช่น รากของแพงพวย ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ ที่พืชแต่ละชนิด พัฒนาปรับสภาพตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม...

รากพืชเมื่อพัฒนาจากเมล็ดจะมีขนาด และการแตกกิ่งก้านออกมาต่างชนิดต่างขนาดกันซึ่งพอจัดแบ่งตามขนาดดังนี้ รากแก้ว รากกิ่ง รากแขนง รากฝอย และ รากขน โดยไม้ล้มลุกจะมีรากแขนง และ รากขนเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และ พืชใช้รากเหล่านี้แตก และยื่นส่งรากฝอยออกไป เพื่อให้รากขนที่ปลายรากฝอยได้ขยับหาแหล่งดูดซับสารอาหารที่อยู่ในดินออกไปทีละนิดที่ละนิด โดยที่ปลายรากฝอยเหล่านี้ที่มีรากขนอยู่ จะเกิดใหม่ และเมื่อรากขนเก่ามีอายุ 2-4 วันก็จะหมดอายุ และ ตายไป ในปลายรากขน จะมีจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่ทั้งใน และ ด้านนอกรอบๆ รากขน 

ที่ค่อยแตกตัวธาตุอาหารที่น้ำละลายไม่ได้ให้รากสามารถดูดซับไปใช้ได้ ดังนั้นการใช้ยา และ สารเคมีต่างๆ ที่เราใช้เพื่อป้องกันรา และ โรคต่างๆ ล้วนแล้วค่อยๆ มีผลต่อชีวิตในดินทั้งสิ้น เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็จะไปแสดงต่อสุขภาพ หรือ ความแข็งแรงของพืช ที่นี้ก็เรามาดูอีกทีเรื่อง คือ เหล่าจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ทั้งภายใน และ ภายนอกรากขน พืชจะส่งสารประเภท คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ที่สังเคราะห์เสร็จจากใบส่วนนึงมาเลี้ยงราก และ แบ่งปันส่วนนึงให้กับเหล่าจุลินทรีย์เหล่านี้...

จากเหตุผลดังกล่าว ก็คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นข้อเตือนใจถึงเหล่าชาวสวนปลูกยางทั้งหลายเรื่องการกรีดยาง และ การใช้ฮอร์โมนเร่งน้ำยาง จนกระทั้งไม่มีน้ำยางเหลือเพื่อส่งไปเลี้ยงราก และ เหล่าจุลินทรีย์ดังกล่าว เหมือนคนถูกถ่ายเลือดบ่อยจนเกินจากที่ร่างกายจะผลิตได้ทัน เมื่อร่างกายผลิตไม่ทัน ร่างกายก็จะไม่มีเลือดที่ทั้งทำหน้าที่ส่งออกซิเจน และ อาหารที่ให้พลังงานกับชีวิตไปให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และ ขนย้ายของเสียจากส่วนต่างๆ ไปฟอกที่ไตและตับ

สำหรับสมาชิกที่ปลูกยางคงได้คำำตอบคร่าวๆ แล้วนะครับ ส่วนสมาชิกที่ชอบพ่นยาฆ่าต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน พ่นฆ่าอย่างเช่น ไฟท็อป แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ฆ่าแค่ไฟท๊อป แต่มันฆ่า และทำลายหลายอย่างในบริเวณนั้น หยุดเถอะครับ หยุดเถอะ! 

การใช้แนวทางที่ขาดการเรียนรู้ในองค์ความรู้รวม เหมือนดังเช่นกับคำว่า "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ว่าท่านเข้าใจในเรื่องที่ท่านทำจริงๆ แล้วยัง? ท่านเข้าถึงความรู้ดังกล่าวแค่ไหน? เหล่านี้ล้วนจะทำให้เราและท่านพัฒนาอาชีพเกษตรกรของท่านได้อย่างยั่งยืน ด้วยความปราถนาดีจาก การเกษตรรูปแบบ PRM การเกษตรที่เป็นอภิปรัชญตาสำหรับเกษตรกรทุกผู้ทุกคนครับ...

พระหัตถ์ของพ่อ ร.9 ภาพเดียวที่สื่อได้ทุกอย่าง

มือที่เราเหล่าชาว PRM ต้องเอาเป็นแบบอย่าง
"ลูกพ่อ รักพ่อ เราจะเดินตามพ่อ"

พ่อที่เป็นแบบอย่างทั่วโลก จนทั่วโลกยอมรับ
"5 ธันวา วันดินโลก"
วันที่เกษตรรุ่นใหม่พัฒนาใช้เป็นฐานในการเพาะปลูก

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

บทความที่ได้รับความนิยม