การใส่ปุ๋ยในอากาศปิดหลายวันมีผลต่อพืชอย่างไร? (ต่อ) | คุยกับ อ.ตรี ตอน 4

ขอต่อบทความที่เกี่ยวกับเรื่องการใส่ปุ๋ยจำเป็นมั้ยต้องรอให้ฝนทิ้งช่วง รอให้ดินโศกน้ำ ค่อยใส่ปุ๋ย บอกเลยครับ จากอธิบายการใช้น้ำ และการคายน้ำของพืช ตัวที่เราต้องยึดเป็นหลักคือตัวที่ให้พลังงานกับพืชที่ใช้ในการเปลี่ยนน้ำไปเป็นไอคายออกมา กับ อีกกรณีหนึ่ง คือเปลี่ยนน้ำเป็นสารอาหารใช้ในตัวพืช ดังนั้น หากฝนหยุดตกและมีแสงแดดแรงกล้า เราสามารถใส่ปุ๋ยได้ทันที เพราะเมื่อมีการคายน้ำ และใช้น้ำระบบท่อน้ำในโครงสร้างของพืชจะขาดน้ำและเกิดแรงดึงดูด หรือ ออสโมซิส (Osmosis) ซึ่งการดูดเข้าจะเข้ามาพร้อมกับการละลายที่เป็นอิออนของธาตุอาหาร...

 โอเครครับ เอาพอเข้าใจแบบง่ายและเห็นภาพเพื่อให้พวกเราได้คำตอบเพื่อนำไปปฏิบัติ

ส่วนคำถามที่ว่า หากอากาศปิดหลายๆวัน แสงแดดไม่พอเพียงให้พืชใช้สังเคราะห์แสงแบบที่ อ.เป็ดท่านถามเพื่อหาฅำตอบและความเข้าใจให้สมาชิกนั้น กรณีนี้ให้พิจารณาถึงความแข็งแรงของต้น ว่าพืชมีความแข็งแรงขนาดไหน แล้วมีการสะสมอาหารของพืชสมบูรณ์เพียงพอมั้ย พืชมีภาระการเลี้ยงดูต้น หรือ มีกำลังฟื้นฟูต้น หรือ มีผลผลิตติดผลมากจนจะทำให้พืชทรุด เพราะหากพืชปรุงอาหารไม่ได้หลายๆวัน ในการผลิต ผลผลิตจำนวนมาก เพื่อให้โตภายในกรอบรอบวันที่กำหนด เมื่อปรุงอาหารไม่ได้ก็จะไปดึงจากส่วนต่างๆของส่วนอื่นไปใช้ ทำให้พืชมีความสมบูรณ์ถอยหลัง ในกรณีดังกล่าวหากฟ้าปิดเกิน 3-4 วัน เราอาจให้น้ำเกลือกับพืชแบบคนป๋วยคือการฉีดพ่นทางใบอีกทางครับ

ส่วนอีกคำถามที่ คุณปุ้ย ถามให้กับสมาชิกแบบขอแบบเร่งด่วนว่า ช่วงนี้ฝนตกหนักน้ำท่วมขัง เราจะดูแลลทุเรียนอย่างไรหลังน้ำท่วมขัง ก็ง่ายๆเรื่องแรก รีบเปิดทางน้ำไม่ให้น้ำท่วมขังนานเกิน เรื่องที่ ต้องงดเว้น คือการเข้าไปย้ำใต้ทรงพุ่ม เพราะช่วงนี้รากจะอ่อนแอ หรือ เสียหาย โรคจะเข้าโจมตีได้ง่าย เรื่องที่สามคือเมื่อให้น้ำจนดินเริ่มโศกน้ำ ให้กระตุ้นรากให้แตกใหม่เพิ่ม ในแนวทางการเกษตรรูป PRM จะใช้วิธีหว่านโซคอนเพื่อกระตุ้นรากใหม่ เรื่องที่ห้าให้เสริมธาตุย่อยธาตุเสริมต่างๆ และสังเกตุถึงการแตก และกระจายรากใหม่ เพราะพอน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก น้ำฝนและน้ำที่หลากจะละลายเอาธาตุอาหารต่างๆไปด้วยครับ...

เช้าวันจันทร์ ตลอดจนทั้งวัน ผมติดภาระกิจพา ท่าน ผ.อ.พัฒนาที่ดินจังหวัด และ สมาชิกบางท่าน ดูงานการเกษตร PRM ที่ทำกันที่จ.สุพรรณ อยุธยาและ อาจรวมถึงกาญจนบุรี ด้วย รวมทั้งแก้ปัญหาการแก้ปัญหาการขาดธาตุของพืชหลังฝนตกและน้ำท่วมขัง วันนี้จึงอาจจะไม่ได้เขียนบทความที่เพิ่มเติมให้ นอกจากบทความที่ค้างเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา เพราะ 2-3 วันที่ผ่านมากำลังเร่งทำงานหลายเรื่องรวมทั้งอัดคลิปบางเรื่องส่งให้ท่าน อ.อาคม ครับ...

 

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^
 

การใส่ปุ๋ยในอากาศปิดหลายวันมีผลต่อพืชอย่างไร? | คุยกับ อ.ตรี ตอน 3


เมื่อวานเขียนบทความเล่าให้ฟังว่า เมื่อมีแสงแดด พืชใช้น้ำอยู่ 2 กรณีโดยเมื่อพืชคายน้ำเพื่อระบายความร้อนของแสงแดดที่สาดส่องลงมา ทำให้ปริมาณน้ำในโครงสร้างพืชลดลงนอกจากปริมตรน้ำในท่ออาหารลดลงแล้ว เกิดความเข้มข้นของน้ำในท่อน้ำ เนื่องจากพืชคลายน้ำออกไป จากเงื่อนไขใน 2 กรณี จึงทำให้เกิดแรงดูดซับในส่วนของรากขน ดูดซับน้ำจากภายนอกระบบรากขนพร้อมกับธาตุอาหารที่ละลายน้ำ และที่จุลินทรีย์ในดินแตกตัวให้เข้าสู่ระบบรากมาพร้อมน้ำ 

ด้วยน้ำที่เป็นสารละลายเหล่านี้ จะถูกดึงส่งต่อเซลล์ต่อเซลล์ของระบบท่อส่งน้ำเข้าสู่ใบพืชเพื่อเปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซค์ที่จับจากอากาศ และสภาพแวดล้อมเป็นน้ำตาล ก่อนเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งแล้วส่งต่อออกมาเปลี่ยนรูปตามส่วนต่างๆ ของพืช

เมื่อทราบข้อมูลคร่าวๆ ที่ทวนให้แล้ว ที่นี้ก็จะขอทวนเรื่องเมื่อพืชดูดน้ำและธาตุอาหารเข้าระบบรากโดยการออสโมซีส ความเข้มข้นภายในรากจะต้องสูงกว่าบริเวณรอบรากขน ขบวนการ ออสโมซิส (Osmosis) จึงจะเกิดความสมบูรณ์ หากว่าความเข้มข้นของธาตุอาหาร และน้ำมีความเข้มข้นสูง ก็จะเกิดขบวนการที่เรียกว่า พลาสโมไลซิส (Plasmolysis) คือน้ำในนะบบรากจะถูกดึงออกสู่ภายนอกระบบราก ทำให้พืชสูญเสียน้ำ พืชจะแสดงอาการเหยี่ยวเฉาหากสูญเสียน้ำมากๆ อาจทำให้พืชช๊อกตาย ที่พวกเราเรียกว่าใส่ปุ๋ยจนดินเค็มไป

จากเหตุผลดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า หากเราจะใส่ปุ๋ยต้องใส่เป็นระยะยิ่งทุกวันได้ยิ่งดี แต่ใส่น้อยๆ ใส่แบบเจือจาง เพราะพืชต้องการธาตุอาหารที่เป็น ธาตุคาร์บอน ไฮโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก ส่วนอื่นอีกสิบกว่าตัวไม่ว่าจะเป็น N P K ที่บอกว่าใช้เยอะแล้วรวมกับธาตุย่อยธาตุเสริมตัวอื่น ยังไม่ถึง 1% ของน้ำหนักต้นเลย ดังนั้นการใส่ธาตุอาหารให้พืชต้องรู้จักพิจารณา 

งานวิจัย PRM จึงพัฒนาวิชาการใส่ปุ๋ยที่มีทั้งส่วนกินได้ทันที และฝากไว้กับวัสดุที่ผสมคลุกเคล้าลงไปให้ อีกทั้งวัสดุดังกล่าวได้นำวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตรมาใช้ซึ่งในวัสดุดังกล่าวก็คือซากพืชซากสัตว์ที่ก่อตัวมาจากธาตุอาหาร เมื่อสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาการได้ครบ ในส่วนนั้นเราจึงค่อยมาดูว่าพืชผลิใบใหม่แสดงอาการขาดธาตุอะไร? ในกรณีนี้จึงค่อยเติมเสริมเพิ่ม จึงเกิดวัสดุปรับปรุงดินสูตร 4 ในรูปปุ๋ยสูตรน้ำให้ทุกคนได้ใช้ผสมเพิ่มเติมใน สูตร 2 และ สูตร 3

ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ยในปัจจุบัน ที่พวกเราใส่ปุ๋ยเคมี N P K ที่ผ่านมา ผมไม่ขอวิจารณ์เยอะ แต่จะชี้เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเราเลี้ยงลูก เราสามารถที่จะตามใจหรือมักง่ายกับลูกได้ แต่จะนำมาซึ่งการขาดธาตุอาหารแบบไม่สมดุลย์

ลูกเราสามารถที่จะกินเนื้อสัตว์ต้มเปล่าๆบวกกับข้าวเปล่าทุกวันได้ แต่เมื่อกินไปนานๆ ลูกเราก็จะเกิดอาการขาดเกลือแร่ และวิตามิน เช่นเดียวกับพืช ด้วยความที่เกษตรกรไม่รู้ซึ้งถึงความจริงของการใส่ธาตุอาหารและเข้าใจว่ายิ่งใส่เยอะยิ่งดี เหล่านี้ที่งาน  PRM ต้องเสาะหาความจริงมาให้ชาวเราได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง 

คงจะขอพรุ่งนี้ต่อเนื้อหาให้ เพราะวันนี้ทั้งฟอกไต และงานเต็มไปหมด พรุ่งนี้แต่เช้าจะต่อเนื้อหาให้อีกทีนะฅรับ...

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

การฟื้นฟูต้นไม้ในฤดูฝน | คุยกับ อ.ตรี ตอน 1

ช่วงเวลาฝนตก นั่งมองน้ำฝนที่ร่วงหล่นจากฟากฟ้า อดไม่ได้ที่จะหา เหตุและผลว่า ทำไมแค่น้ำฝนหยดลงมา กลับทำให้ต้นไม้ทั้งโลกฟื้นตัว

วันนี้ขอนำบทความเรื่องการฟื้นฟูต้นไม้ในฤดูฝนมาถอดบทความให้สมาชิกได้อ่านทำความเข้าใจกัน ในฤดูฝนเป็นฤดูที่เหมาะสมกับการฟื้นฟูพืชทุกชนิด มีการเติมเต็มไนโตรเจนทางธรรมชาติแบบสมดุลย์ เพราะไนโตรเจนในอากาศที่ละลายน้ำฝน พร้อมความชื้นลงมากับฝนเป็นสัดส่วนทางธรรมชาติที่ธรรมชาติออกแบบไว้จนเป็นสัดส่วนที่พืชยอมรับ 

หากมากกว่านั้นพืชก็จะอวบอ้วนจนเป็นปัญหากับตัวพืชเอง เพราะโรคกับแมลงจะเข้าโจมตีได้ง่าย แต่บางพื้นที่ ที่แม้มีฝนตก รดพรมแต่ต้นไม้ไม่งาม ก็เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารในดินที่เป็นองค์ประกอบตัวอื่นไม่สมดุลย์ ทำให้พืชเจริญเติบโตแบบไม่สมดุลย์

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมถึงได้บัญญัติวิธีการให้ธาตุอาหารพืช แบบเจือจาง และถี่ๆ โดยผ่ายขบวนการให้โดยทางอ้อม คือฝากไปกับวัสดุฟื้นฟูดินในแต่ละสูตรและวิธีการใช้ต่างๆ เพื่อให้ในดินมีธาตุอาหารที่ค่อยเสริฟให้กับรากพืชตลอดเวลาที่พืชออสโมซีสเอาน้ำ  และธาตุอาหารไปใช้ 

บทความนี้คงตัดข้อสงสัยที่พวกเราชอบหาฅำตอบจากผมว่า วัสดุฟื้นฟูดินต้องใส่กี่วันครั้ง? ทำไมใส่น้อยจัง?  ใส่แค่นี้จะพอเหรอ? นี้แหละ "อภิปรัชญาตาพีอาร์เอ็ม"

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^
 

พืชดึงอาหารขึ้นไปใช้อย่างไร ? | คุยกับ อ.ตรี ตอน 2

 

เมื่อวานบทความเกิดจากมองเม็ดฝนที่ค่อยๆหล่นจากฟากฟ้า ทำให้เกิดความสงสัยว่าแค่น้ำฝนทำไมเมื่อร่วงหล่นลงมา กลับทำให้พืชพรรณพลิกฟื้นคืนสภาพสมบูรณ์ทั่วถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไม้เล็กไม้ใหญ่ แม้หญ้าแพรกที่เรี่ยติดดินก็ทะลึ่งรับความสดชื่น เพราะอะไรพวกเราก็พอรู้แล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาที่จะต้องรู้แบบคร่าวๆว่าพืชดึงธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างไร ?

บทความเรื่องพืชดึงอาหารขึ้นไปใช้อย่างไร? เมื่อมีแสงแดด พืชใช้น้ำอยู่ 2 กรณี คือ ในการคายความร้อนของแสงแดดที่สาดส่องลงมา เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าสภาพที่พืชรองรับได้ พืชก็จะใช้ขบวนการนำความร้อนไปเปลี่ยนน้ำเป็นก๊าชแล้วคายออกมา ดังนั้นอากาศจะร้อนแค่ไหน เราเคยสังเกตุบ้างมั้ยว่าใบไม้ที่ตากแดดตลอดเวลา เมื่อเอามือจับดูจะมีอุณหภูมิที่เย็นปกติ นั้นเพราะเกิดขบวนการคายน้ำตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนอีกกรณีต้นไม้ใช้น้ำที่ดูดขึ้นมา บวกกับกาชคาร์บอนไดออกไซค์ที่ใบจับได้ทั้งในอากาศและสภาพแวดล้อม อาศัยแสงแดดเป็นตัวให้พลังงานและอาศัยสีเขียวคือคลอโลฟิลเป็นตัวนำโมเลกุลของน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์มาจัดเรียงใหม่

ทำให้เกิดโมเลกุลของน้ำตาล และเหลือก๊าชออกซิเจนขับออกมา ซึ่งน้ำตาลดังกล่าวจะเป็นขบวนการเริ่มต้นของการนำไปแปรรูปสร้างส่วนต่างๆที่เป็น ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล ที่นี้คงพอมองเห็นขบวนการเจริญเติบโตของต้นไม่เลาๆกันแล้ว และที่สำคัญ ขบวนการดังกล่าวของพืชจะเกิดขึ้นที่ใบที่มีส่วนที่เป็นสีเขียวเท่านั้น ดังนั้นพวกที่ชอบแต่งกิ่งแต่งใบอ่านแล้วก็คงรู้ฅำตอบนะ...

ที่นี้อาจต้องสงสัยว่าพืชดึงน้ำกับสารอาหารขึ้นไปที่ใบได้อย่างไร?


ผมสอนให้พวกเราหัดสงสัยแล้วเอาข้อมูลงานวิจัยมาประกอบการทำงาน เราก็จะมองเห็นภาพที่ชัดเจนแบบง่ายๆ คือ เมื่อมีแสงแดดพืชคายน้ำเพื่อลดและควบคุมอุณหภูมิภายในของพืช และน้ำอีกส่วนหนึ่งก็ใช้ในการปรุงเป็นอาหารที่นำไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆของพืช จึงเกิดกาขาดน้ำในท่อน้ำที่มีลักษณะคล้ายๆหลักการกาลักน้ำ พอน้ำด้านหนึ่งไหลออกก็จะเกิดแรงดูดอีกด้านนึง ในพืชก็เช่นเดียวกัน

ในท่อน้ำที่เคยวาดง่ายๆเพื่ออธิบายให้เห็นภาพเวลาบรรยาย ซึ่งจะโยงผลไปถึงราก ประจวบกับการคายน้ำออกของพืชก็จะทำให้น้ำในท่อน้ำ มีความเข้มข้นกว่าด้านนอก จึงเกิดขบวนการที่เรียกว่าการดึงสารละลายความเข้มข้นต่ำมาเจือจางความความเข้มสูงในราก จึงเกิดการดึงน้ำเข้ามาในราก ทีนี้คงมองเห็นขบวนการการดูดน้ำและธาตุอาหารแล้วนะ

ดังนั้น การแต่งกิ่งแต่งใบล้วนมีผลลดทอนการปรุงอาหารและการคายน้ำของพืช อีกทั้งการประเคนปุ๋ยเคมีในปริมาณมากๆ ล้วนมีผลต่อการออสโมซีส หรือ การดูดอาหารของพืช แบบนี้หายสงสัยกันยังว่าทำไม วัสดุฟื้นฟูดิน PRM ใช้ปุ๋ยเคมีแค่นิดเดียว

พรุ่งนี้จะเขียนบทความอีกตอน เรื่องการใส่ปุ๋ย และหากอากาศปิดหลายวันมีผลต่อพืชอย่างไร? จะแก้ด้วยวิธีไหน?

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^
 

บทความที่ได้รับความนิยม