DW คืออะไร - Derivatives Warrant? - ตราสารอนุพันธ์ | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Investment


Derivatives Warrant หรือที่เรามักเรียกกันแบบคุ้นหูกันนะครับมันก็คือ ตัว DW นั่นเอง - DW ก็คือตราสารอนุพันธ์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตราสารที่จะต้องไปอ้างอิงหรือไปเปรียบเที่ยบกับสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ อาทิเช่น หุ้น เป็นต้น นั่นเองนะครับ- ทั้งนี้ DW อ้างอิงกับตราสารอะไร ราคาของ DW นั้นก็จะขึ้นนลงไปตามตราสารนั้นๆ เช่น อ้างอิงกับหุ้น PTT ราคา DW ก็จะขึ้นลงตามหุ้น PTT ที่ตัว DW ไปอ้งอิงอยู่นั้นเองนะครับ 


ทั้งนี้นะครับตัว DW  ก็คือตัว Options ซึ่งสามารถเทรดเหมือนหุ้นได้เลย ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ ปัจจุบันสามารถใช้บัญชีเทรดหุ้นเดิมที่คุณมีได้เลยนะครับ ซึ่งจะเทรดเหมือนหุ้นปกตินั้นเอง... สำหรับท่านใดนะครับที่ยังไม่ได้เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ท่านสามารถติดต่อกับโบรกเกอร์ที่ท่านชื่นชอบเพื่อติดต่อสอบถามเปิดบัญชีได้เลยนะครับ ไม่ต้องกลัวนะครับโทรไปสอบได้เลย เพราะโบรกเกอร์ต้องการลูกค้าอย่างเราๆกันอยู่แล้วเขาพร้อมที่จะให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้กับเราเองนะครับ 


ต่อมาเรามาดูกันเลยดีกว่านะครับว่าความแตกต่าง และจุดเด่น ของ Derivatives Warrant หรือ DW ตัวนี้เป็นอย่างไร และ Derivatives Warrant  มีความแตกต่างกับตัว  วอแรนท์ (Warrant) ปกติที่เรารู้จักกันมาแล้วในคลิปของผมก่อนหน้านี้กันมาแล้วนะครับ-เรามาดูกันครับว่า 2 ตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรนะครับ...



  

จุดเด่นของ DW (Derivatives Warrant) คือ


1- LEVERRAGE คือ ตัวเพิ่มโอกาสในการทำกำไร  การที่เราจะทำกำไรได้เพิ่มขึ้นก็เพราะเรามี LEVERRAGE เข้ามาช่วยนั้นเองทำให้เราสามารถใช้เงินทุนที่น้อยในการทำกำไรสูงๆได้-  แต่ตัว LEVERRAGE เราต้องระวังเป็นอย่างมากในการใช้นะครับมัน เป็นดาบสองคมทีเดียว เพราะมันจะทำกำไรได้มากก็จริงแต่เวลาเสียมันก็จะเสียมากเช่นกันนะครับ...

2- ราคาต่อหน่วยต่ำ ซึ่ง DW จะมีราคาต่อหน่วยที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับราคาสินทรัพย์ที่ DW ไปอ้างอิง ในกรณณีนี้นะครับ ถ้าเราดูหุ้นบางตัวนั้นในปัจจุบันมีราคาสูงมากอย่างกรณีหุ้นบางตัว มีราคาหุ้นละ 400 บาท เป็นต้นนะครับหากเราต้องการซื้อหุ้นตัวนี้ต้องซื้อถึง 100 หุ้นนั้น เพราะการซื้อขายหุ้น ซื้อขายเป็น board lot โดย 1 board lot = 100 หุ้น ถ้าอิงราคานี้ตามราคาเราต้องใช้เงิน ถึง 40,000 บาท ซึ่งนักลงทุนอาจจะมีไม่ถึง หรือ เงินอาจจะมากเกินไปในการลงทุนในแต่ละครั้งที่รับความเสี่ยงได้ แต่ในกรณีของ DW นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ถึง 40,000 บาท เพราะ DW บางตัว ราคาเริ่มต้นเป็นเพียงเป็นเศษสตางค์ก็ยังมี

3- สามารถทำกำไรได้ทั้ง ชนิดทำกำไรในตลาดขาขึ้น และ ชนิดที่ทำกำไรในตลาดขาลง ซึ่งเป็นข้อดีของการลงทุนที่สามารถทำกำไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง



 DW มีกี่ประเภท อะไรบ้าง


DW แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งต้องแยกจากกันชัดเจน
1- DW ทำกำไรขาขึ้น ซึ่งเรียกว่า CALL DW
2- DW ทำกำไรขาลง  ซึ่งเรียกว่า PUT DW
ซึ่งทั้งสองกรณีทั้ง ขาขึ้น และ ขาลง นี่คือการแยกกันอย่างชัดเจนในแต่ละครั้งที่เทรดนะครับ จะมารวมกันในการเทรดครั้งเดียวไม่ได้


การอ่านสัญญาลักษ์ของ DW


DW จะต้องมีสัญญาลักษ์ ความยาวไม่เกิน 12 ตัวอักษรนะครับ อาทิ DW ของ CPALL สัญญาลักษ์จะเป็น CPAL00C2012A  ซึ่ง 

 

* ตัวอักษร4ตัวแรก จะเป็นชื่อสินทรัพย์อ้่างอิง ในที่นี่คือ CPALL แต่ดูแล้วคงจะสงสัยกันนะครับว่า ชื่อ CPALL มี5 ตัวแต่ในสัญญาลักษ์ทำไมถึงมีเพียง 4 ตัว เพราะเนื่องจากมีการกำหนดไว่ว่าชื่อไม่ว่าจะยาวกี่ตัว เมื่อมาทำเป็นสัญญาลักษ์ของ DW จะตัดให้เหลือเพียง 4 ตัวเท่านั้น

* ต่อมาตัวเลข 00 สองตัว ตรงนี้หมายถึงหมายเลขบริษัทหลักทรัพย์ หรือหมายเลขค่ายผู้ออกตัว DW นั้นๆนั่นเองนะครับ อาจจะเป็น 01-21 -22 -28 แบบนี้เป็นต้นนะครับ

* ต่อมาคือตัว  C ตัว C ตัวนี้ จะหมายถึงการเล่นหรือการเทรด DW ในขาขึ้น หรือขาลง อาทิ ถ้าเราลงทุนในขาขึ้น ก็จะใช้สัญญาลักษ์ ตัว คือ CALL DW แต่ถ้า เราเล่นหรือการเทรด DW ในขาลง จะให้สัญญาลักตัว คือ PUT DW นั่นเองนะครับ

* ต่อมาหมายเลขอีก 4 ตัว คือหมายเลขวันหมดอายุของ DW ของตัวนั้นๆ ซึ่งในที่นี่สมมุตเป็น 2012 หมายถึง DW ตัวนี้จะหมดอายุใน เดือน 12 ปี 2020  นั่นเองนะครับ

* ตัวอักษรตัวสุดท้าย ก็คือ ซื้อรุ่นหรือซี่รี่ของ DW ในรุ่นนั้นๆ อาทิ รุ่นที่ 1 จะใช้ตัว A รุ่นที่2 จะใช้ตัว B เป็นต้นนั้นเองนะครับ ซึ่งเราจะได้ทราบว่า DW ที่เราสนใจอยุ่ในรุ่นที่เท่าไหร่ของตัว DW นั้นๆนะครับ


 สิ่งสำคัญในการเทรด DW


1- Effective Gearing คืออัตราทด ซึ่งเป็นจำนวนเท่านั้นเองนะครับจำนวนเท่าและผลตอบแทนเมื่อเราลงทุน DWที่อ้างอิงจากหุ้นแม่ สมมุตมีอัตราทด 3 เท่า อาทิ ถ้าหุ้นแม่เปลี่ยนแปลง 5 %  ตัว DW ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น 15 % นั้นเองนะครับ

2-Time Decay  ค่าความเสื่อมของมูลค่าเวลา มูลค่าจะเสื่อมระยะเวลานานขึ้น เป็นความเสี่ยงที่สำคัญมากนะครับสำหรับผู้ที่เทรด DW คือถ้านักลงทุนถือ DW ไปเรื่อยๆ ราคา Dw จะลดลงถึงแม้ว่าราคาหุ้นแม่จะไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม ตัวนี้สำคัญมากนะครับ สำหรับมือใหม่มักจะไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้ และเป็นเรื่องที่ควรระวังมากนะครับ ควรศึกษาเชิงลึกและสอบถามจากค่าย หรือโบรกเกอร์ผู้ออกตราสารให้เข้าใจก่อนการลงทุนนะครับสำหรับ Time Decay ตัวนี้

3- Sensitivity ค่าการแกว่งตัวของราคา DW ของหุ้นอ้างอิงหรือหุ้นแม่  ราคา DW ไม่จำเป็นจะต้องปรับราคาตามหุ้นแม่ทุกช่องนะครับ แต่จะปรับราคาตามค่าของ Sensitivity ที่เลือกไว้ Sensitivity ตัวนี้ หากนักลงทุนต้องการให้มีการปรับตารางราคาตามหุ้นแม่นักลงทุนควรเลือกค่า Sensitivity เป็นค่าการปรับราคาตามตาราง DW ควรเป็น 1:1  หรือ DW เท่ากับ 1 หรือไกล้เคียง 1 นั่นเองนะครับ ตัวนี้ก็สำคัญมากเช่นกันนะครับ มือใหม่มักจะไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้บางคนถึงขั้นคิดว่าค่ายผู้ออกตราสารโกงก็มี ที่จริงแล้วค่ายผู้ออกตราสารไม่ได้โกงนะครับ เพียงแต่การปรับตรารางราคาจะปรับตามค่า Sensitivity ที่เราเลือกไว้นั้นเองนะครับ  ทั้งนี้ควรศึกษาเชิงลึกและสอบถามจากค่ายผู้ออกตราสารให้เข้าใจก่อนการลงทุนนะครับสำหรับ Sensitivity ตัวนี้

ข้อควรระวัง การที่เราเปิดบัญชีจากค่ายหรือโบรกเกอร์ผู้ออกตราสารไหน ให้เราอิงตารางราคากับค่ายนั้นเป็นหลักนะครับ เพราะถ้าดูตารางจากค่ายอื่นที่เราไม่ได้เทรดกับเขาจะทำให้ตารางราคาอาจคลาดเคลื่อนได้นะครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาด เทรดค่ายไหนอ้างอิงข้อมูลตารางกับค่ายนั้นๆเป็นหลักนะครับ..

4- Last trading Date วันซื้อขายวันสุดท้าย ตรงนี้สำคัญมากเพราะเมื่อเราเลือกหุ้น เราควรดูระยะเวลาให้สอดคล้องกับการขึ้นลงของหุ้นอ้างอิงหรือหุ้นแม่ซึ่งจะต้องดูเทรนของหุ้นแม่ว่าอยู่ในช่วงเวลาขาขึ้นหรือขาลงในช่วงเวลานั้นๆ ทั้งนี้ต้องวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technicai Analysis) และ วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหุ้นแม่ประกอบทุกครั้งที่ลงทุน เพราะมีผลอย่างมากสำหรับคาบช่วงเวลาที่เรา
เทรด
DW นั่นเองนะครับ



สรุปวิธีเลือก DW สินทรัพย์อ้างอิงสำหรับในการเทรด DW


1- เราต้องมีหุ้นหรือตราสารอ้างอิง
2- วิเคราะห์ทิศทางขาขึ้น หรือขาลง ของตราสารหรือหุ้นตัวนั้นๆ
3- ระยะเวลาต้องสัมพันธ์กันต้องสอดคล้องกับระยะแนวโน้วขึ้่นลงของหุ้นแม่ และต้องคำนึงหลักการเทรด 4 อย่างของ DW ข้างต้นเสมอ Effective Gearing - Time Decay - Sensitivity - Last trading Date ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการเทรดตัว DW นะครับ..



มาถึงตรงนี้คงจะเข้าใจในเรื่องของ DW - Derivatives Warrant เบื้อต้นกันแล้วนะครับ DW - Derivatives Warrant คืออะไร แล้วเราจะใช้ประโยชน์จาก DW - Derivatives Warrant  กันอย่างไรในสภาวะตลาดหุ้นในบ้านเราในปัจจุบัน แท้จริงแล้ว DW - Derivatives Warrant คือ ตัว ออฟชั่น อีกตัวหนึ่งที่เป็นเครื่องมือในการสร้างผลตอบแทนในการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งนะครับที่เราควรจะศึกษาไว้ เพราะหากตลาดหุ้นซบเซาหรืออยู่ในช่วงขาลง DW - Derivatives Warrant ก็ยังทำกำไรให้กับเราได้นะครับ เพราะ DW - Derivatives Warrant สารมารถทำกไรให้กับเราได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและในตลาดขาลงนั่นเองนะครับ 

อยากฝากไว้นะครับว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาให้มากๆ ย้ำนะครับ ศึกษาให้มากๆก่อนการลงทุนนะครับ และขอให้ทุกท่านประสบแต่ความสำเร็จในชีวิตทุกๆด้านของชีวิตนะครับ ขอให้ชีวิตมีแต่ความสุข เงินทองไหลมา เทมากันนะครับ  หากคลิปนี้มีประโยชน์ ฝากกดไล กดแช กดติดตาม กันด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ผมขอตัวลาไปก่อนพบกันไหม่ในคลิปต่อๆนะครับ สวัสดีครับ...


  
บทความ : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4
FaceBook : https://www.facebook.com/CoachDolravee/
Blogger : https://www.Dolravee.com/
Blockdit : https://www.blockdit.com/coachdolravee/
Twitter : https://twitter.com/CoachDolravee
Instagram : https://www.instagram.com/CoachDolravee/


บทความที่ได้รับความนิยม

บทความยอดนิยมตลอดกาล