เงินเฟ้อ Inflation คืออะไร? และเงินเฟ้อมันเกี่ยวอะไรกับเรา


หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อคงเกิดอาการงงๆ ว่าที่จริงแล้ว เงินเฟ้อมันคืออะไรกันแน่นะทำไมเราถึงได้ยินบ่อยจัง แล้วมันมีผลกระทบต่อประเทศและตัวเราอย่างไรละ แต่ในความเป็นจริงแล้วเงินเฟ้อเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเราทุกๆคนซึ่งจะส่งผลถึงการใช้จ่ายและการดำเนินชีวิตประจำวันของเราๆนี่ละ งั้นเรามาลองทำความรู้จักกับภาวะเงินเฟ้อกันดีกว่าครับ



เงินเฟ้อ  มีศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Inflation” เป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่ระดับราคาและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ หรือเป็นภาวะที่ค่าเงินลดลงไปเรื่อยๆหรือภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ (Rising Prices) พุดง่ายๆก็คือเงินที่เรามีมันด่อยค่าลงไปเรื่อยๆ ค่าของเงินลดลง ปริมาณเงินอยู่ในมือประชาชนมากเกินไป   เป็นเหตุให้เงินจำนวนเดียวกันนี้ ไม่สามารถจะซื้อสินค้าและบริการจำนวนเดียวกันได้ เมื่อเวลาล่วงเลยไป ยกตัวอย่างกันง่ายๆกันเลยดีกว่า เช่น ราคาน้ำมันในอดีตเคยอยู่ที่ 20 บาทต่อลิตร แล้วเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร จะใช้เงิน 200 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 40 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 200 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ นั้นก็หมายความว่า การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเงินเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง หรือด่อยค่าลงนั้นเอง ทั้งนี้การที่สินค้ามีระดับราคาสูง (High Prices) จะยังไม่ถือว่าเป็นเงินเฟ้อ ซึ่งราคาสินค้าและบริการจำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจะเป็นเงินเฟ้อได้ 

เงินเฟ้อเกิดเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนี้ไม่จำเป็นที่ว่า สินค้าทุกตัวต้องมีราคาสูงขึ้นเหมือนกันหมด อาจเป็นได้ที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่อีกบางชนิดมีราคาลดลง แต่สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ราคามวลรวมทั้งหมดโดยค่าเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น และสิ่งที่เรานำมาวัดความเปลี่ยนแปลงของระดับราคา คือ ดัชนีราคา (Price Index) ซึ่งเป็นดัชนีนี้จัดทำโดย กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาได้ รวมถึงดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งนำเอาราคาสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศมาคำนวณ ซึ่งในประเทศไทยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณและประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ

ผลดีของอัตราเงินเฟ้อ โดยหลักการภาวะเงินเฟ้อช่วยสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนใช้จ่ายและลงทุนเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้เงินที่เก็บไว้มีมูลค่าน้อยลงเรื่อยๆ การเพิ่มการใช้จ่ายและลงทุน เช่น หุ้น ทองคำ และฯลฯ ถือเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและเกิดการหมุนเวียนของเงินได้มากขึ้น

เงินเฟ้ออาจเกิดได้จากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และอีกสาเหตุคือ เกิดจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น   เนื่องจากระดับราคาวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น หรืออัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เป็นเหตุให้ราคาสินค้าสูงตามไปด้วย อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ต้องเป็นนโยบายการเงิน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสม  หน่วยงานสำคัญที่กำหนดนโยบายการเงิน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย  นโยบายการเงินที่สำคัญ คือ  การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การกำหนดเงินสดสำรองกฎหมายของธนาคารพาณิชย์  การกำหนดอัตราซื้อลดการซื้อขายพันธนบัตรรัฐบาล และการแก้ปัญหาต้องรวมถึง นโยบายการคลัง (fiscal policy) หมายถึงนโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้และรายจ่ายของรัฐเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการดำเนินนโยบายการเงิน ถึงตอนนี้คงเข้าใจแล้วไช้ไหมครับว่าอัตตราเงินเฟ้อนั้นที่จริงมันอยู่เคียงข้างเรามาตั้งแต่เราเกิดกันเลยทีเดียวและเป็นสิ่งที่เราต้องรู้เพื่อที่จะรับมือกับเงินเฟ้อในอนาคตเพื่อการปรับตัวสู้โลกเศรษฐกิจที่ขยายตัวและเจริญก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ..... ^_^ …..

ภาวะเงินฝืด Deflation คืออะไร แล้วมันน่ากลัวจริงหรือ...



 

เงินฝืดหลายๆคนอาจเกิดความวิตกกังวลถ้ามันเกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของเศรษฐกิจประเทศ อาจมีคนตกงาน มีผลกับเงินที่เราถืออยุ่เราลองมาทำความรู้จักกับภาวะเงิดฝืดกันดีกว่าครับว่าจริงๆแล้วมันน่ากลัวจริงหรือ


ภาวะเงินฝืด หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Deflation ความหมายพอสังเขปก็คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการในตลาดลดลง เพราะไม่มีคนซื้อ ทำให้ผู้ผลิตต้องลดกำลังการผลิตเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า ถ้าอยู่ในภาวะนี้นานๆ การจ้างงานก็จะลดลง ค่าของเงินเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินอยู่ในมือประชาชนน้อยเกินไป  ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน


ทั้งนี้การที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ แต่ไม่ไช่ว่าสินค้าทุกชนิดจะต้องลดราคา แต่เมื่อเราดูจากราคาสินค้าจากมวลรวมแล้วแบบถั่วเฉลียราคาลดลงนั้นเอง โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับทางด้านอุปทาน (Supply side) และทางด้านอุปสงค์ (Demand side) และอาจมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย


ประเภทเงินฝืดมีทั้งเงินฝืดแบบอ่อน เงินฝืดแบบนี้ถือว่าเป็นผลดีต่อระบบเศรฐกิจ เพราะจทำให้ราคาสินค้าในตลาดทั่วๆไปลดลงประชาชนสามารถหาซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงและได้สินค้าในปริมาณที่มากขึ้น  แต่ถ้าเงินฝืดเริ่มเข้าข่ายแบบปานกลางและแบบเงินฝืดระดับรุนแรง จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ แบบเห็นได้ชัดและเกิดผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจระดับประเทศได้เลยทีเดียว...


สาเหตุของเงินฝืดเกิดจากปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการมีน้อยกว่าความต้องการในการขายสินค้าหรือบริการ ทำให้สินค้าเหลือเกินความต้องการ ราคาสินค้าลดลง และทั้งนี้อาจเกิดจากรัฐบาลเก็บภาษีมากเกินไป ทำให้ปริมาณเงินที่ประชาชนจะซื้อสินค้ามีน้อยลง ประชาชนเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป ทำให้การบริโภคมวลรวมลดลง และขาดการหมุนเวียนของระบบเงินสด มีการส่งเงินตราออกไปต่างประเทศมากเกินไป ทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อย และเงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก   ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง    ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้นนั้นเอง....


ผลกระทบของเงินฝืดทำให้ผู้ผลิตขาดทุน การค้าซบเซา การผลิตเลิกกิจการ ลูกจ้างแรงงานตกงาน เกิดปัญหาว่างงาน เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีจากผู้มีรายได้และผู้ผลิตได้ตามเป้าหมาย ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องแบกภาระในการแก้ปัญหาคนว่างงานและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ


เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้อย่างไรกันเป็นปัญหาที่ควรคบคิดและต้องระวังของการเกิดเงินฝืดซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดได้โดยอาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น จากการใช้นโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการใช้นโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี การใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างงานและการลงทุน และอีก ฯลฯ...

 
ครูพี่ลี ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger   :
    http://www.dolravee.com/
Facebook :    https://goo.gl/qNF1ak
Youtube  :    https://goo.gl/F6d8A4

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

บทความที่ได้รับความนิยม