ราคาทองคำของประเทศไทย..ราคาทองคำมาจากไหน... ใครกำหนด - Gold Price | ลงทุนในทองคำ - Gold Investment



ย้อนเวลากลับไปตอนที่ผมยังเป็นนักเรียนมัธยม ช่วงเวลาการเดินทางจะผ่านร้านขายทองทุกวัน ตอนนั้นก็เริ่มคิดสงสัยว่าทำไมราคาด้านหน้าร้านทอง ราคาซื้อ ราคาขาย มันเปลี่ยนได้ทุกวัน แล้วมันเปลี่ยนเพราะอะไร ทำไมถึงเปลี่ยน...แล้วใครเป็นผู้กำหนดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งหลายท่านคงอาจเกิดข้อสงสัยเหมือนกับผมในตอนนั้นว่า ทำไมราคาทองหน้าร้านถึงมีการปรับเปลี่ยนได้ทุกวัน บางวันเปลี่ยนกัน 4-5 ครั้งกันเลยทีเดียว แล้วเขาตั้งราคากันอย่างไร ...ราคาทองคำ...แท้จริงแล้วใครกำหนดกันหนออ?... 



วันนี้นะครับผมจะมาคลายข้อสงสัยกันว่าใครกำหนาดราคาทองคำในแต่ละวันของไทย  เพราะแท้ที่จริงแล้วการกำหนดราคาทองของประเทศไทยนั้น... ประกอบด้วยปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน โดยมีคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมค้าทองคำคอยกำกับดูแลในตลอดช่วงเวลาการซื้อการขาย... ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 




สำหรับในการกำหนดราคาทองคำของสมาคมค้าทองคำ จะอ้างอิงจากราคา Gold Spot บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองในต่างประเทศ แล้วจึงนำมาคำนวณกับค่าเงินบาท จากนั้น จะทำการแปลงหน่วยน้ำหนักทองคำจากหน่วย ounze ให้เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำของไทย คือ บาท โดยการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศแต่ละครั้งนั้นทางสมาคมค้าทองคำจะต้องพิจาราณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศเป็นสำคัญด้วย...



หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกำหนดราคาของทองคำในประเทศไทย

ราคาทองคำในเมืองไทยโดยปกติจะเริ่มมีการกำหนดราคาตั้งแต่ตอนเช้า และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้วันละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับความผันผวนของปัจจัยต่างๆที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก อาทิ การเมืองระหว่างประเทศ สงคราม การขึ้นดอกเบี้ยของ FED เป็นต้นนะครับ บางวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงราคาหน้าร้านถึง 4 - 5 ครั้งกันเลยทีเดียว สำหรับราคาทองคำในเมืองไทย จะถูกประกาศครั้งแรกโดยสมาคมค้าทองคำ ในวลาประมาณ 9.30 - 9.50 น.ของแต่ละวันเป็นหลักก่อน... โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนในช่วงเวลาของ วันเสาร์-อาทิตย์ราคาจะไม่เปลี่ยนโดยจะใช้ราคาที่ประกาศครั้งสุดท้ายของวันศุกร์เป็นหลักนั้นเอง... ซึ่งในการกำหนดราคาทองของสมาคมค้าทองคำ สำหรับตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดราคาทองคำของไทย สามารถสรุปได้ 4 ข้อหลักๆดังนี้



1. ราคาทองต่างประเทศ Gold spot  คือการอ้างอิงราคา Gold Spot ในตลาดโลกก่อน...

เป็นราคาอ้างอิงทางอิเลกทรอนิกส์แบบเพียวๆ ซึ่งยังไม่ได้มีการบวก หรือลบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในการส่งมอบทองคำ เป็นการซื้อขายทองคำที่ไม่มีการส่งมอบ ซึ่งหากท่านพิจารณาดูราคา Gold spot จะเห็นว่ามีทั้งฝั่ง Bid และ Ask ซึ่งก็คือราคารับซื้อ และราคาขายออกนั้นเอง (หากใครเคยเทรด Gold Future และ CFDs จะมีความเข้าใจมากขึ้นนะครับ)ในการซื้อทองคำจากต่างประเทศนั้น ผู้ขายจะใช้ราคา Ask ในการคำนวณ ส่วนเมื่อเราขายกลับไปยังผู้ค้าทองคำต่างประเทศ จะใช้ราคา Bid ในการคำนวณ ดังนั้นทางสมาคมเองก็เช่นกัน ในการกำหนดราคาทองภายในประเทศก็ต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย ว่าสภาวะตลาดทองคำภายในประเทศเป็นเช่นไร เช่นมีความต้องการซื้อทองคำอย่างมากก็ต้องนำเข้าทองคำ หรือหากมีความต้องการขายทองคำจำนวนมากก็ต้องส่งออกเป็นต้นนะครับ



2. อัตราค่า Premium ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้าและส่งออกทองคำ

คือการพิจารณาถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อ US ดอลล่าร์ บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ แล้วคำนวณออกมาเป็นเงินบาทไทยและเมื่อมีความต้องการซื้อทองคำจำนวนมากจากผู้สนใจลงทุนในทองคำ และปริมาณทองคำภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ร้านค้าทองจึงจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศซึ่งก็คือการซื้อจากผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าก็ต้องซื้อต่ออีกทอดหนึ่งจากผู้ค้าในต่างประเทศ โดยจะมีการคิดค่า Premium นั่นเเอง...ทองคำในประเทศไทยส่วนมากจะมีการนำเข้ามาจาก Australia - Singapore - Hongkong และ Switzerland ซึ่งค่า Premium ที่เกิดขึ้นก็คือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อที่นำเข้า หรือส่งออกทองคำ รวมถึงค่าขนส่ง ค่าความเสี่ยง ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าประกันภัยต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดมาโดยผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ ซึ่งเรียกง่ายๆว่าเป็นต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเข้ามาขายให้ผู้บริโภคในประเทศนั้นเอง... โดยในการคำนวนจะนำราคา Gold Spot บวกค่า Premium ดังกล่าวนี้เข้าไปด้วย ซึ่งในทางกลับกัน เมื่อมีประชาชนมาขายทองคำแท่ง คืนให้กับร้านทองจำนวนมากๆ ร้านทองจำเป็นต้องทำการขายกลับคืนมาให้กับบริษัทผู้นำเข้า และผู้นำเข้าก็จะทำการขายคืนกลับไปให้กับผู้ค้าทองในต่างประเทศอีกทอดหนึ่งนั้นเอง... 



3. ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

คือการทำการแปลงหน่วยน้ำหนักทองคำจากหน่วย Ounce (ออนซ์) ให้เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำของไทยที่เป็น บาท เพื่อการตัดสินใจประกาศราคาทองคำในประเทศไทยซึ่งค่าเงินบาทในการคำนวณราคาทองในประเทศ จะใช้อัตราการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน Gold spot และมีการใช้ราคาในฝั่ง Bid และ Ask เช่นเดียวกัน สำหรับในสภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินเช่นปัจจุบัน แต่ละธนาคารก็จะบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปด้วยเช่นกัน..



4. Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ

คือทางสมาคมค้าทองคำจะต้องพิจารณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศร่วมในการพิจรณาประกอบด้วย นั้นเอง...คณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคม นอกจากจะพิจารณาราคา Gold Spot และค่า Premium และค่าเงินบาท ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัย Demand และ Supply ภายในประเทศด้วยเป็นหลัก เพื่อที่จะตัดสินใจประกาศราคาทองคำภายในประเทศ ณ ช่วงเวลานั้นๆ โดยตัวแทนคณะกรรมการกำหนดราคาทั้ง 5 ท่าน จะพิจารณาจากปริมาณ และราคาจากการซื้อขายระหว่าง  ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกทองคำ คือ -  ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าทองเยาวราช - ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าส่งทองคำ - ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าปลีกทองคำ - ตัวแทนคณะกรรมการผู้ลงทุนทองคำรายใหญ่ - ตัวแทนคณะกรรมการผู้ลงทุนทองคำรายย่อย นั้นเอง...



สรุปทั้งสี่ข้อแล้วสามารถแปลงเป็นสูตรคำนวนตามหลักคณิตสาสตร์ได้ดังนี้
สูตรการคำนวนราคาทองคำ - ราคาทองคำแท่ง 96.5%  =

 {(Gold Spot + Premium) x 32.148 x (อัตราแลกเปลี่ยน USD/THB) x 0.965} / 65.6

32.148 คือค่า น้ำหนักทองคำทรอยออนซ์ ต่อ 1 กิโลกรัม
65.6 คือ จำนวนบาททองคำที่แปลงมาจากทองคำ 1 กิโลกรัม
หมายเหตุ : ทั้งนี้ต้องพิจารณา Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ เข้าไปจะได้ราคาทองคำที่แท้จริงออกมา...

จากที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้นคงพอจะทราบกันแล้วนะครับว่า การกำหนดราคาทองคำในประเทศไทยนั้นไม่ได้กำหนดได้ตามอำเภอใจของใครคนหนึ่ง เพราะว่าในทุกๆทุกภาคส่วนล้วนมีการซื้อและขายทองคำด้วยกันเอง ตลอดเวลาการซื้อขายของร้านค้าทองคำด้วยกันเองนั้นจะมีปริมาณที่มากกว่าการซื้อขายกับผู้ลงทุนทั่วไปหลายสิบเท่า... เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าสมาคมค้าทองคำประกาศราคาทองคำสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงจากตลาดต่างประเทศมากไป ร้านค้าทองคำด้วยกันเองจะมีการวิ่งเข้าหาซื้อ หรือเทขายกันเอง เพื่อสะท้อนถึงความต้องการทองคำของตลาดตามความเป็นจริง แต่ยังมีการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศ สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และอื่น ฯลฯ เป็นต้น.. ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น จะเห็นว่าตลาดค้าทองคำของไทยนั้น เป็นตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และสามารถดำเนินไปด้วยกลไกลตลาดอย่างแท้จริงนั้นเองนะครับ ...สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ หากบทความนี้ท่านเห็นว่ามีประโยชน์ก็ ฝากกดติตาม ฝากกดไลฟ์ ฝากกดแชร์ กันด้วยนะครับ แล้วพบกันไหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สำหรับวัน ผมขอตัวลาไปก่อนสวัสดีครับ..

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4
Twitter : https://goo.gl/4cFV6T
Google+ : https://goo.gl/UNkNBr

หุ้นกู้แปลงสภาพคืออะไร? Convertible Bond หรือ Convertible Debenture ? | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment



โลกของการลงทุน ที่มีความผันผวน นักลงทุนหุ้นสามัญจะได้รับผลกระทบกับผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน ที่คาดเดาไม่ได้ถึงอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสภาวะที่เกิดขึ้นที่สงผลกระทบต่อการลงทุนที่หลากหลาย หุ้นแปลงสภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเหล่านักลงทุน  เพราะหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นถือได้ว่า เป็นหลักทรัพย์กึ่งหนี้ กึ่งทุน และมีความยืดหยุ่น โดยหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) มีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ทั่วไป โดยจะแตกต่างกันคือจะไม่คืนเงินต้นเมื่อครบอายุ แต่จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในการแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญตามระยะเวลา ราคา และอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเหมือนผู้ถือหุ้นกู้ ทั่วไปก็ต่อเมื่อได้นำหุ้นกู้นี้ไปแปลงสภาพหรือแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญตามสิทธิแล้วก็จะมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของบริษัทตามจำนวนหุ้น สามัญที่ได้รับคือหุ้นกู้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารในการแปลงสภาพหุ้นกู้ไปเป็นหุ้นสามัญตามสัดส่วน ช่วงเวลาและราคา..ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว... พูดกันง่ายๆก็คือหุ้นกู้ที่ถูกแปลงสภาพ เปลี่ยนจากเจ้าหนี้ ให้กลายมาเป็นเจ้าของนั้นเอง...

หุ้นกู้แปลงสภาพ(Convertible Debenture) เป็นตราสารหนี้ที่นักลงทุนสามารถเปลี่ยนจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกได้ตามราคาที่กำหนดโดยบริษัทผู้ออกจะออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่สถานะของนักลงทุนจึงเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของ และด้วยสถานะการเป็นเจ้าของ จึงทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อและราคาขาย(Capital Gain) หากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้าหากราคาหุ้นในตลาดยังคงต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในการแปลงสภาพ นักลงทุนก็สามารถเลือกที่จะไม่แปลงสภาพเป็นหุ้น และถือเป็นตราสารหนี้ต่อไปเพื่อรับดอกเบี้ยแต่ละงวดตามที่กำหนดไว้  ซึ่งข้อดี ของการลงทุนในหุ้นกุ้แปรสภาพ ผู้ลงทุนได้ทราบถึงราคาแปลงสภาพที่แน่นอน เพื่อจะได้ตัดสินใจไม่เลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในภาวะตลาดขาลง หรือซบเซา ผู้ลงทุนยังมีโอกาสในการตัดสินใจทำกำไรจากการขายหุ้น หรือแปลงสภาพหุ้น ในเวลาที่เหมาะสมได้ หุ้นกู้ประเภทนี้จะได้รับความนิยมในช่วงที่ตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดี


ลักษณะของหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)  คือ
1 - เหมือนหุ้นกู้ แต่เมื่อแปลงสภาพแล้ว จะเหมือนหุ้นสามัญ
2 - สิทธิพิเศญของหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
2.1 - กรณีที่ยังเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับสิทธิในการชำระเงินคืน เงินทุนก่อนผู้ถืหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
2.2 - กรณีที่สิ้นสุดอายุตามที่ระบุไว้ จะได้รับสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
3 - ผลตอบแทนหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) คือ
3.1 - กรณีที่ยังเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ ผลตอบแทน ก็คือดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด
3.2 -กรณีที่แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ผลตอบแทนจะกลายเป็นเงินปันผล และส่วนต่างราคากำไร-ขาดทุน จากราคาหุ้น (Capital Gain)



สิ่งที่ควรรู้ในหุ้นกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
1- ระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพ (Conversion Period)
ในส่วนนี้คือการกำหนดให้ผู้ถือหุ้นแปลงสภาพ ได้รับรู้ถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิแปลงสภาพชองหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ  ผู้ออกหุ้น อาจกำหนดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตลอดอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
2- วันแปลงสภาพ (Conversion Date)
วันแปลงสภาพคือ วันใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นแปลงสภาพขอยื่นจำนงในการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นเป็นหุ้นสามัญ การแปลงสภาพนี้มีผลในสถานะของผู้ลงทุน เปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนึ้  เปลี่ยนมาเป็นเจ้าของกิจการ นั้นคือผู้ถือหุ้นสามัญนั้นเอง
3- ราคาแปลงสภาพ (Conversion Price)
ในส่วนตรงนี้นั้น ผู้ออกหู้นกู้แปลงสภาพจะกำหนดราคาแปลงสภาพไว้ในหนังสือชี้ชวนเรียบร้อบแล้ว และบริษัทอาจจจะปรับปรุงราคาแปลงสภาพในระหว่างอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ อาทิอาจมีการเปลี่ยราคาพาร์ของหุ้นสามัญเป็นต้น
4- อัตราการแปลงสภาพ ( Conversion Ratio)
จำนวนหุ้นที่ผู้ถือจะได้รับและเปลี่ยนการแปลงสภาพ สมมุติว่า หุ้นกู้ 1 หุ้น มาเป็นหุ้นทุน อาทิเช่น  conversion ratio =50  แสดงว่าหุ้นกู้แปลงสภาพ 1 หุ้นสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ 50 หุ้น เป็นต้น
5- ราคาไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ (Redemption Price)
ราคาที่บริษัทกำหนดที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้ เมื่อถึงวันครบกำหนด หากผู้ถือหุ้นกู้ยังไม่มีการแปลงสภาพหุ้นกู้ของตนเอง อาจมีการบวกเพิ่มอัตราส่วนเกินเข้าไปในราคาไถ่ถอน แก่ผุ้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพที่ไม่ได้ใช้สิทธแปลงสภาพ (Premium Redemption)
6- บริษัทมีการกำหนดสิทธิของผู้ไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด (Call Option)
บริษัทมีการกำหนดสิทธิของผู้ไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด (Call Option) ณ ราคาเรียกคืน (Call Price) ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นหมดโอกาสที่จะทำกำไรสูงสุดจากการแปลงสภาพ และไม่ได้รับดอกเบี้ยจากหุ้นอีกต่อไป

หุ้นกู้แปลงสภาพมักจะได้รับความนิยมจากนักลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งนี้เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสได้รับ capital gain จากการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมสูงกว่าหุ้นกู้ปกติ นักลงทุนจึงยอมรับอัตราดอกเบี้ย ที่ค่อนข้างต่ำของหุ้นกู้แปลงสภาพ ในมุมของบริษัทผู้ออก การออกหุ้นกู้แปลงสภาพมีประโยชน์ในหลายกรณีเช่น ต้นทุนการจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการออกตราสารหนี้แบบทั่วไป ทำให้บริษัทมีต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำลง


หุ้นกู้แปลงสภาพไม่ใช่หุ้นกู้ประเภทใหม่ที่เพิ่งมีการออก จริงๆ แล้วในอดีตที่ผ่านมามีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันมาก โดยเฉพาะในช่วงก่อนวิกฤตปี2540 ที่ตลาดหุ้นคึกคัก มีบริษัทไทยที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพหลายบริษัทแต่ภายหลังจากวิกฤติปี 2540 ตราสารหนี้แปลงสภาพก็ได้ลดความนิยมลงมากจนกระทั่งปัจจุบันที่ตลาดหุ้นคงความร้อนแรงต่อเนื่องมาหลายปีติดต่อกัน ก็เริ่มมีหลายบริษัทหันมาออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันแล้ว ดังนั้นในยามที่ภาวะตลาดหุ้นที่หลายคนมองว่ายังไปต่อได้ การออกหุ้นกู้แปลงสภาพอาจกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเพราะจะช่วยให้ผู้ออกมีต้นทุนการกู้ยืมเงินลดลงและนักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำ หุ้นกู้แปลงสภาพจึงดูเหมือนเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าจับตามองต่อไป …

แน่นอนนะครับว่าก่อนลงทุนในหุ้นนกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)  ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของหุ้นนกูู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) ให้ดีย้ำนะครับว่าต้องศึกษาให้รอบครอบ ทั้งลักษณะ ผลตอบแทน ระยะเวลาลงทุน และเงื่อนไขของหุ้นนกูู้แปลงสภาพทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของหุ้นกู้แปลงสภาพที่สามารถทำให้นักลงทุน...ลงทุนในหุ้นกู้แปลง สภาพได้อย่างมั่นใจ และได้รับผลตอบแทนทีคุ้มค่าในเวลาที่เหมาะสมอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งนะครับ... สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ และกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สวีดัด สวัสดีครับ  ----- ^_^ -----

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4



หุ้นกู้ - Corporate Bond หรือ Debenture คืออะไร? | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment

 
หุ้นกู้  - Corporate Bond หรือ Debenture  เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไปเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ  หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนี้มักจะมีเงื่อนไขรายละเอียดของการออกในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดแรงจูงใจสอดคล้องกับความต้องการเงินทุนและความสามารถในการจ่ายคืนเงินต้นของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ... 




วัตถุประสงค์หลักของหุ้นกู้ เพื่อเป็นการระดมทุนนอกจากนักลงทุนรายใหญ่แล้วยังต้องการระดมทุนจากประชาชนรายย่อย ด้วยวิธีการกู้เงินในระยะยาวเป็นหลัก... หุ้นกู้  (Debenture) เป็นลักษณะ ตั๋วสัญญาชนิดหนึ่งหรือตราสารหนี้เพื่อนำเงินไปใช้ในระยะยาวที่ออกโดยผู้กู้ ซึ่งระบุว่าผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ถือหุ้นกู้ โดยผู้กู้สัญญาว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนดังกล่าวในอนาคต และจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามวันที่กำหนดไว้ตลอดอายุตราสารหุ้นกู้  (Debenture) ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นๆในทันทีนั่นเอง...



ลักษณะหุ้นกู้  (Debenture) เป็นอย่างไร พูดง่ายๆเลยนะครับ กล่าวคือ เมื่อเราซื้อหุ้นกู้ เราจะมีฐานะเป็น เจ้าหนี้ ส่วนบริษัทที่ออกหุ้นกู้ จะมีฐานะเป็น ลูกหนี้ ซึ่งความเป็นเจ้าหนี้ของเราสามารถเป็นได้หลายแบบตามลักษณะของหุ้นกู้  (Debenture) เช่น มีประกันหรือไม่มีประกัน ด้อยสิทธิหรือไม่ด้อยสิทธิ   หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น หุ้นกู้ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด เป็นต้น...

แต่ในกรณีเป็นหุ้นกู้มีประกัน แสดงว่า หุ้นกู้นี้มีการให้หลักประกันแก่เรานั้นเอง อาทิ เช่น ที่ดิน อาคาร อสังหาริมทรัพย์  และสังหาริมทรัพย์ เพราะถ้าหากบริษัทเกิดมีปัญหา ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นให้เราได้ เราจะมีสิทธิในหลักประกันนั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ให้เราก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆนั้นเอง... 
ทั้งนี้ นะครับหุ้นกู้ (Debenture) เรายังสามารถจะจำแนกเป็นลักษณะที่เข้าใจง่ายได้ดังนี้...
1- วัตถุประสงค์ของหุ้นกู้ (Debenture)  เพื่อเป็นการระดมทุน จากประชาชน ด้วยวิธีการกู้เงินในระยะยาว
2- ผู้ถือตราสารไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งมีความแตกต่างกับหุ้นสามัญที่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม
3- ผู้ถือตราสารมีสิทธิในการเป็นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
4- สิทธิพิเศษ คือ ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
5- ผลตอบแทนของหุ้นกู้ คือ ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตามระยะเวลา และ ตามอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน เมื่อสิ้นสุดอายุตามระยะเวลาที่กำหนด...




ทั้งนี้หุ้นกู้ (Debenture) ที่ออกมาจำหน่ายแก่นักลงทุนจะต้องระบุข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
1- ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน หรืออายุหุ้นกู้ (Debenture)
2- มูลค่าที่ตราไว้ หรือ มูลค่าเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเป็นเงินต้นที่ผู้กู้ ต้องชำระคืน ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน
3- อัตราดอกเบี้ย ที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้ ซึ่งแสดงถึงร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ โดยมักจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายครึ่งปี

สิทธิพิเศษหลักๆของหุ้นกู้ (Debenture)  สรุปง่ายๆเราจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ และหุ้นกู้ (Debenture) ยังจัดเป็นหลักทรัพย์ที่ให้รายได้ประจำ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นของหุ้นกู้ ได้ระบุไว้อย่างแน่นอน ณ เวลาที่กำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่ตลอดอายุหุ้นกู้ ดังนั้นผู้ซื้อหรือผู้ถือหุ้นกู้ (Debenture) จะทราบถึงกระแสเงินสดในอนาคตที่จะได้รับนับจากวันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน  การลงทุนในหุ้นกู้นั้น  นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น จะขึ้นอยู่กับความมั่นคงและฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออก  ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงสูงเสมอไป เนื่องจากบริษัทเอกชนบางรายนั้นอาจมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก และโดยทั่วไป อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้จะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุเท่ากัน นั่นเอง...

ประเภทของหุ้นกู้ (Debenture) ในปัจจุบัน บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ได้ออกหุ้นกู้หลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้สนใจหุ้นกู้ของบริษัท และเพื่อให้บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ตัวอย่างของหุ้นกู้ที่มีออกจำหน่ายในปัจจุบัน เช่น
1-   หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
2-   หุ้นกู้แปลงสภาพ
3-   หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
4-   หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น
5-    หุ้นกู้ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด 



การซื้อหุ้นกู้ (Debenture) คือการให้บริษัทกู้ยืมเงิน ดังนั้น ก่อนซื้อหุ้นกู้จึงต้องดูให้แน่ใจก่อนว่า บริษัทมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ฐานะการเงินเป็นอย่างไร เพราะสะท้อนว่าบริษัทมีเงินจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้เราได้หรือไม่ ซึ่งเราสามารถดูได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่จัดทำโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) อันดับความน่าเชื่อถือนี้จะใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัวคือ A B C และ D โดยอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดเท่ากับ AAA และในแต่ละขั้นยังมีการย่อยเป็นบวกและลบ เช่น AA+ A-  เป็นต้น ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB- ขึ้นไปถึง AAA จัดเป็นหุ้นกู้ที่อยู่ในระดับน่าลงทุน ส่วนอันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่า BBB- ถือเป็นหุ้นกู้ที่ควรระมัดระวังในการลงทุนนั่นเอง ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องศึกษาและฝึกตัดสินใจทางด้านปัจจัยอื่นๆประกอบการพิจรณาด้วย...

แน่นอนนะครับว่าก่อนลงทุนในหุ้นกู้  (Debenture) ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของหุ้นกู้ให้ดีย้ำนะครับว่าต้องศึกษาให้รอบครอบ ทั้งลักษณะ ผลตอบแทน ระยะเวลาลงทุน และเงื่อนไขของหุ้นกู้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งนะครับ... สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่าน้ก่อนนะครับ และกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สวัสดีครับ  ----- ^_^ -----

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4

หุ้นบุริมสิทธิ - Preferred Stock คืออะไร | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment


หุ้นบุริมสิทธิ - Preferred Stock  คืออะไร 

     หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญทั่วไป ที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ... เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิเป็นกำหนดอัตราตายตัวไว้ล่วงหน้า และถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ของบริษัทแม้ว่าบริษัทไม่จ่ายเงินปันผลในปีที่ไม่มีกำไรก็ตาม...


    หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ... หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ ทั้งนี้ หุ้นบุริมสิทธิ มีเพื่อให้สิทธิกลุ่มทุนเพื่อตอบแทนที่ช่วยเหลือกิจการตอนสถานการณ์คับขันหรือเกิด วิกฤต หุ้นบุริมสิทธิจึงมีสิทธิได้เงินปันผลแม้ในปีที่กิจการไม่จ่ายปันผลก็ตาม... สมมุติว่ากิจการสามารถทำกำไรได้ 500 ล้านบาท แต่ยังไม่จ่ายปันผลเพราะจะต้องการนำกำไรไปลงทุนขยายกิจการต่อ ผู้ที่ถือหุ้นสามัญจึงไม่ได้รับเงินปันผล แต่หุ้นบุริมสิทธิได้รับเงินปันผลเหมือนเดิมเพราะเงินปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะมีการกำหนดอัตราไว้ล่วงหน้า นี้คือสิ่งที่หุ้นบุริมสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญนั่นเอง... หุ้นบุริมสิทธิ จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม กล่าวคือ "หุ้นบุริมสิทธิได้เงินปันผล แต่ ห้ามออกเสียงในที่ประชุม"  เพราะสมมุติว่าหากให้มีการเข้าร่วมประชุมอาจจะมีความวุ่นวายตามมาในเรื่องการเข้าแทรกแซงการบริกหารการจัดการ หรือยึดอำนาจบริหารในกิจการของบริษทได้ ...


ทั้งนี้หุ้นบุริมสิทธิยังแบ่งออกคร่าวๆได้เป็น...

1- หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล
2- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non – Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่หากปีใดไม่ได้จ่ายเงินปันผล จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไป
3- หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือห้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว
4- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น


    ข้อดีการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  คือจะมีความคล่องตัวและความยืดหยุ่น ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนอีกทั้งหุ้นบุริมสิทธิถือเป็นส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิจึงยังทำให้บริษัทรักษาฐานะและอำนาจไว้ได้... ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต การออกหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้กิจการอาจไม่จำเป็นต้องออกหุ้นสามัญอีก ดังนั้น จึงไม่กระทบกระเทือนต่อราคาหุ้นสามัญ และการออกหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กิจการสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปค้ำประกันหนี้ชนิดอื่นได้....

.
    ข้อเสียการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือจะต้องจ่ายเงินปันผลให้กับหุ้นบุริมสิทธิสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้  เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปหักภาษีในการคำนวณหากำไรสุทธิ  เงินปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะมีการกำหนดอัตราไว้ล่วงหน้า... ปัจจุบันความนิยมลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิมีน้อย เนื่องจากข้อเสียเปรียบบางประการสำหรับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารงาน เป็นต้น...


เรามาสรุปกันแบบให้เข้าใจง่ายๆกันดีกว่านะครับว่า หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ อะไร?
1-  หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนจากประชาชน
2-  ผู้ถือตราสาร  หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจจการ
3-  ผู้ถือตราสาร หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
4- สิทธิพิเศษของ หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีบริษัทเลิกกิจการ
5- ผลตอบแทน หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ จ่ายเงินปันผลในอัตราที่แน่นอน (Fixed)
6- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) บนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

สุดท้ายนี้เราคงเข้าใจกันแล้วนะครับว่าในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ปัจจุบัน หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  ไม่เป็นที่นิยมนัก เมื่อเทียบกับหุ้นสามัญทั่วไป แต่ผู้ที่สนใจที่จะเป็นนักลงทุนก็ยังมีความจำเป็นที่เราจะต้องเข้าใจธุรกิจก่อนที่เราคิดจะลงทุนเพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง สำหรับวันนี้ผมของจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆนะครับ... ^_^ ...


Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4

หุ้นสามัญ... คืออะไร - Common Stock? | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment


หุ้นสามัญ... คืออะไร

     หุ้นสามัญ  Common Stock  คือหุ้นที่นักลงทุนในตลาดซื้อขายกันอยู่ วัตถุประสงค์คือ เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชน  เรามักจะเรียกกันว่าหุ้นทุน คือ ตราสารทุนที่บ่งบอกถึงการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ บริษัท และมีจำนวน มากกว่า 80% ของหุ้นในตลาดทั้งหมด ...



     ผู้ถือครองหุ้นสามัญมีสิทธิเข้าประชุมและออกคะแนนเสียงในที่ประชุม และร่วมพิจารณาตัดสินใจปัญหาสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ยังได้มีสิทธิในการได้รับ เงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน นั้นหมายถึงเราจะได้รับแบ่ง ทรัพย์สินคืนตามสัดส่วนของหุ้นสามัญ ซึ่งเป็นภายหลังจากที่ได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้รวมไปถึงผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจนครบถ้วนแล้ว  หุ้นสามัญไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนคืน และจะสลายตัวไปเอง เมื่อบริษัทเลิกล้มกิจการ สิทธิผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับก็คือ ได้ส่วนต่างราคา ในกรณีมีการชื้อขายหุ้น กรณีที่มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น  สิทธิประโยชน์อีกอย่างก็คือ เงินปันผล (Dividend) จากกำไรของบริษัทตามอัตราที่ประชุม ใหญ่ผู้ ถือหุ้นอนุมัติ ซึ่งจะได้รับหลังจากที่จ่ายปันผลให้แก่หุ้นบุริมสิทธิไปก่อนแล้ว อาจมีผลประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ จึงจัดได้ว่าผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้ายของการได้รับส่วนที่เหลือจาก การลงทุน นั้นเอง....สรุปง่ายๆก็คือ


 

หุ้นสามัญ  Common Stock คือ

1- วัตถุประสงค์ เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชน
2- ผู้ถือตราสารหุ้น มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ
3- ผลตอบแทนจากการถือหุ้น
- ได้ส่วนต่างราคา
- ได้รับเงินปันผล
4- สิทธิในการลงคะแนนเสียง ออกเสียงตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถืออยุ่ และร่วมตัดสินใจในที่ประชุม เช่น
- การเพิ่มทุนจดทะเบียน
- การจ่ายเงินปันผล
- กาารควบรวมกิจการ




     มาถึงตรงนี้เราอาจจะสงสัยกันว่า ตัวย่อหลังชื่อหุ้นนั้นหมายถึงอะไร ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ABC แทนชื่อ บริษัทที่จดทะเบียนเป็นต้น หุ้นประเภทอื่นที่มีการ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น
    -W คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (วอแรนต์) บริษัทเป็นผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์เอง
    -F คือหุ้นสามัญ สำหรับชาวต่างชาติ
    -P คือหุ้นบุริมสิทธิ์
    -Q คือหุ้นบุริมสิทธิ์ สำหรับชาวต่างชาติ
   -C คือใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญ ที่ออกโดยบุคคลที่สาม ที่ผ่านมาบุคคลที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ดังกล่าว คือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน



การจำแนก ประเภทของหุ้นสามัญแบ่งตามกลุ่มการลงทุน
- Blue-chip stock เป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ไม่มีหนี้สินใหม่ โดยทั่วไปราคาของหุ้นบลูชิปจะมีราคาสูง ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับต่ำ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักการลงทุน high  risk, high return
- Income stock หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
- Growth stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตของกำไรสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- Cyclical stock หุ้นของบริษัทที่มีการขยายตัว หุ้นแบบวัฏจักร หดตัวตามวงจรของเศรษฐกิจ
- Defensive stock หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด
- Large-cap stock หุ้นที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 4,400 ล้านบาท เช่น หุ้นในกลุ่ม SET50 index
-  Midcap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดอยู่ระดับกลางระหว่าง 540 -4,400 ล้านบาท
-  Small-cap stock หุ้นที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 540 ล้านบาท

      หุ้นสามัญ จะเป็นหุ้นที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน จึงทำให้บริษัทมีความคล่องตัว ไม่ต้องจัดสรรเงินทุนจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ถอน อีกทั้งจำหน่ายซื้อขายง่าย เพราะมีอัตราตอบแทนสูงกว่าหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นกู้  และ เงินปันผล คงจะพอเข้าใจกันแล้วนะครับว่าแท้ที่จริงแล้วหุ้นสามัญ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วมาพบกันใหม่ในบทความ ต่อๆไปนะครับ .... ^_^ …

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4



ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้น และ หุ้น คืออะไร - Stock market and share | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment


ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้น และ หุ้น คืออะไร


     หุ้น.....คืออะไร หลายคนอาจจะเพียงได้ยินผ่านๆ หรือบางคนอาจมีความสนใจที่จะเข้าลงทุนในหุ้น แต่การลงทุนในหุ้นแท้จริงแล้ว มันไม่ไช่ การเสี่ยงดวง.... เพราะฉะนั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องศึกษาหาความรู้ตลลอดเวลา ปัจจุบัน เมื่อพูดถึงหุ้น คงจะไม่มีใครที่ไม่รุ้จัก...  หุ้นเป็นสินค้าตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกโดยรวมว่า ตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งหุ้นก็คือ ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขาย...


     ตราสารหุ้นที่นัลงทุนส่วนใหญ่ซื้อขายกันอยู่ จะออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมทุนจากประชาชน เพื่อให้เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ และมีการซื้อขายกันผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่เราเรียกกันว่า ตลาดหุ้นนั้นเอง...


     ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ สถานที่ที่เราเอาเอกสารสิทธิ์ความเป็นเจ้าของมาซื้อขายกัน...ความเป็นเจ้าของกิจการก็คือ...เมื่อเราซื้อหุ้นมาแล้วเท่ากับว่าเราคือเจ้าของกิจการคนหนึ่ง สิ่งที่เราจะได้รับจากการเป็นเจ้าของกิจการคือ

1- เงินปันผล (Dividend)  คือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทที่ปันผลกำไรประจำปีนั้นๆ ซึ่งจะจ่าย ตามเงื่อนไขของบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ

2- กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain)  คือการซื้อหุ้นถูกแล้วนำมาขายแพง จะได้ส่วนต่างกำไรหรือที่นักลงทุนมักเรียกกันว่า...เล่นหุ้นนั้นเอง

3- สิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ (Subscription Right)
ในกรณีที่บริษัทออกหุ้นเพิ่มทุน บริษัทจะให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อขายหุ้นที่ออกใหม่ได้ก่อนบุคลลทั่วไปในราคาที่กำหนด เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ไม่ให้ความเป็นเจ้าของและอำนาจควบคุมกิจการลดลงเมื่อมีหุ้นออกมาซื้อขายกันและมีจำนวนหุ้นที่มากขึ้นนั้นเอง...

4-สิทธิความเป็นเจ้าของกิจการ (Ringts) คือสิทธิในการเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิการออกเสียง และซักถามข้อสงสัย ต่างๆ ในสถานะที่เราคือเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของหรือจำนวนหุ้นที่เราถือครองอยู่... อาทิเช่น การเพิ่มทุน  การจ่ายเงินปันผล   การควบรวมกิจการ เป็นต้น...

     
     ตลาดหุ้นแท้ที่จริงแล้ว...ก็คือตลาดทุนนั้นเอง... ซึ่งตลาดทุนจะเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทางการเงิน (Financial Market) ซึ่งเราสามาถแยก ตลาดทางการเงินและหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1- ตลาดเงิน (Money Market) หน่วยงานที่มีบทบาทในการทำธุรกรรมในตลาดเงินมากที่สุดคือ สถาบันการเงิน วัตถุประสงค์หลักของตลาดเงิน คือ เป็นการหมุนเวียนเงินทุนระยะสั้น เช่น รักษาสภาพคล่องของธุรกิจ  เป็นต้น...

2- ตลาดทุน (Capital Market) หน่วยงานที่มีบทบาทในการทำธุรกรรมในตลาดทุนมากที่สุดคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของตลาดทุน คือ เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาวใช้ในการลงทุนระยะยาว เช่น การลงทุนในซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุนกองทุนรวม ใบสำคัญแสดงสิทธิ และ ซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน  เป็นต้น...

     

ทั้งนี้ตลาดทุน (Capital Market)
ยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ

1- ตลาดแรก คือ ตลาดสำหรับหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยผู้ที่ต้องการเงินทุนจะระดมทุนจากผู้ลงทุนโดยตรงด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยหลักทรัพย์อาจเป็นในรูปของตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ เป็นต้น

2- ตลาดรอง คือ ตลาดสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ได้ผ่านการเสนอขายในตลาดแรกมาแล้วนั้นเอง... ตลาดรองในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดี ก็คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่นักลงทุนจะต้องซื้อขายตราสารหลักทรัพย์ โดยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แห่งนี้.... ปัจจุบันมีตลาดรองอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย คือ ตลาด Market for Alternative Investment หรือที่เรียกกันสั่นๆว่าตลาด MAI นักลงทุนมักจะเรียกในวงการตลาดหุ้นว่าตลาดใหม่ ... ตลาด MAI นี้เป็นตลาดที่เปิดขึ้นมาให้กับบริษัทขนดเล็กเข้ามาจดทะเบียนเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ โดย มีเงื่อนไขที่เข้าจดทะเบียนที่ง่ายกว่า และทุนจดทะเบียนที่น้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นเอง...

   องค์ประกอบและหน้าที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องมีและขาดไม่ได้เลยคือ

1- การวิเคราะห์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เราเรียกกันสั่นๆ ว่า SET INDEX นั่นเอง
2- โบรกเกอร์ หรือที่เราเรียกว่า นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในแต่ละวันจะมีบทวิเคราะห์และมีเจ้าหน้าที่การตลาดคอยดูแลให้คำปรึกษาเราตลอดทุกครั้งที่เราต้องการ เราสามารถเลือกเปิดบัญชีกับโบรกไหนก็ได้ตามความพึงพอใจของเรา
3- ต้องมีตัวสินค้า นั้นคือ หลักทรัพย์จดทะเบียน
4- ที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือผู้ลงทุน Invester ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
  • นักลงทุนสถาบันในประเทศ
  • นักลงทุนต่างประเทศ
  • นักลงทุนทั่วไป หรือนักลงทุนรายย่อย นั้นเอง...

     เราคงจะมองเห็นภาพกันแล้วนะครับว่า หลักการของตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้น และ หุ้น  ทำไมเราจะต้องซื้อขายกัน และหุ้นมีบทบาทลำดับขั้นตอนความเป็นมาของหุ้นที่เราซี้อขายกันอย่างไร แท้จริงแล้วการลงทุน ในโลกของทุนนิยมแบบนี้...ถึงแม้จะมีความเสี่ยง...แต่การลงทุนก็ยังเป็นคำตอบเดียวในปัจจุบันที่จะทำให้เรามั่งคั่งเพิ่มขึ้น...ยังทำให้ระบบเศรฐกิจมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้า...เป็นตัวชีวัดระบบเศรฐกิจระดับประเทศ และ เศรฐกิจโลกในระดับมหภาคได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรการลงทุนก็มีความเสี่ยง "High Risk High Expected Return" ถ้าเราต้องการผลตอบแทนและความมั่งคั่งที่สูง... เราต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน และนี่คือธรรมชาติของการลงทุนที่เราอาจหลีกหนีไม่พ้น นั้นเอง ... สุดท้ายนี้ขอให้ประสบความสำเร็จกับการก้าวสู่โลกแห่งนักลงทุนกันนะครับ...^_^

ครูพี่ลี ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger   :
    http://www.dolravee.com/
Facebook :    https://goo.gl/qNF1ak
Youtube  :    https://goo.gl/F6d8A4

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

บทความที่ได้รับความนิยม

บทความยอดนิยมตลอดกาล