หุ้นบุริมสิทธิ - Preferred Stock คืออะไร | มือใหม่...ลงทุนในหุ้น - Stock Invesment


หุ้นบุริมสิทธิ - Preferred Stock  คืออะไร 

     หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญทั่วไป ที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ... เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิเป็นกำหนดอัตราตายตัวไว้ล่วงหน้า และถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ของบริษัทแม้ว่าบริษัทไม่จ่ายเงินปันผลในปีที่ไม่มีกำไรก็ตาม...


    หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ... หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ ทั้งนี้ หุ้นบุริมสิทธิ มีเพื่อให้สิทธิกลุ่มทุนเพื่อตอบแทนที่ช่วยเหลือกิจการตอนสถานการณ์คับขันหรือเกิด วิกฤต หุ้นบุริมสิทธิจึงมีสิทธิได้เงินปันผลแม้ในปีที่กิจการไม่จ่ายปันผลก็ตาม... สมมุติว่ากิจการสามารถทำกำไรได้ 500 ล้านบาท แต่ยังไม่จ่ายปันผลเพราะจะต้องการนำกำไรไปลงทุนขยายกิจการต่อ ผู้ที่ถือหุ้นสามัญจึงไม่ได้รับเงินปันผล แต่หุ้นบุริมสิทธิได้รับเงินปันผลเหมือนเดิมเพราะเงินปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะมีการกำหนดอัตราไว้ล่วงหน้า นี้คือสิ่งที่หุ้นบุริมสิทธิเหนือกว่าหุ้นสามัญนั่นเอง... หุ้นบุริมสิทธิ จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม กล่าวคือ "หุ้นบุริมสิทธิได้เงินปันผล แต่ ห้ามออกเสียงในที่ประชุม"  เพราะสมมุติว่าหากให้มีการเข้าร่วมประชุมอาจจะมีความวุ่นวายตามมาในเรื่องการเข้าแทรกแซงการบริกหารการจัดการ หรือยึดอำนาจบริหารในกิจการของบริษทได้ ...


ทั้งนี้หุ้นบุริมสิทธิยังแบ่งออกคร่าวๆได้เป็น...

1- หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล
2- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non – Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่หากปีใดไม่ได้จ่ายเงินปันผล จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไป
3- หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือห้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว
4- หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น


    ข้อดีการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  คือจะมีความคล่องตัวและความยืดหยุ่น ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนอีกทั้งหุ้นบุริมสิทธิถือเป็นส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิจึงยังทำให้บริษัทรักษาฐานะและอำนาจไว้ได้... ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต การออกหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้กิจการอาจไม่จำเป็นต้องออกหุ้นสามัญอีก ดังนั้น จึงไม่กระทบกระเทือนต่อราคาหุ้นสามัญ และการออกหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กิจการสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปค้ำประกันหนี้ชนิดอื่นได้....

.
    ข้อเสียการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือจะต้องจ่ายเงินปันผลให้กับหุ้นบุริมสิทธิสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้  เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปหักภาษีในการคำนวณหากำไรสุทธิ  เงินปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะมีการกำหนดอัตราไว้ล่วงหน้า... ปัจจุบันความนิยมลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิมีน้อย เนื่องจากข้อเสียเปรียบบางประการสำหรับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารงาน เป็นต้น...


เรามาสรุปกันแบบให้เข้าใจง่ายๆกันดีกว่านะครับว่า หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ อะไร?
1-  หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนจากประชาชน
2-  ผู้ถือตราสาร  หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจจการ
3-  ผู้ถือตราสาร หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
4- สิทธิพิเศษของ หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีบริษัทเลิกกิจการ
5- ผลตอบแทน หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ จ่ายเงินปันผลในอัตราที่แน่นอน (Fixed)
6- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) บนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

สุดท้ายนี้เราคงเข้าใจกันแล้วนะครับว่าในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ปัจจุบัน หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)  ไม่เป็นที่นิยมนัก เมื่อเทียบกับหุ้นสามัญทั่วไป แต่ผู้ที่สนใจที่จะเป็นนักลงทุนก็ยังมีความจำเป็นที่เราจะต้องเข้าใจธุรกิจก่อนที่เราคิดจะลงทุนเพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง สำหรับวันนี้ผมของจบเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆนะครับ... ^_^ ...


Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4

บทความที่ได้รับความนิยม

บทความยอดนิยมตลอดกาล