หุ้นกู้ - Corporate Bond หรือ Debenture เป็นตราสารหนี้ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไปเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนนี้มักจะมีเงื่อนไขรายละเอียดของการออกในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดแรงจูงใจสอดคล้องกับความต้องการเงินทุนและความสามารถในการจ่ายคืนเงินต้นของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ...
วัตถุประสงค์หลักของหุ้นกู้ เพื่อเป็นการระดมทุนนอกจากนักลงทุนรายใหญ่แล้วยังต้องการระดมทุนจากประชาชนรายย่อย ด้วยวิธีการกู้เงินในระยะยาวเป็นหลัก... หุ้นกู้ (Debenture) เป็นลักษณะ ตั๋วสัญญาชนิดหนึ่งหรือตราสารหนี้เพื่อนำเงินไปใช้ในระยะยาวที่ออกโดยผู้กู้ ซึ่งระบุว่าผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ถือหุ้นกู้ โดยผู้กู้สัญญาว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนดังกล่าวในอนาคต และจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามวันที่กำหนดไว้ตลอดอายุตราสารหุ้นกู้ (Debenture) ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นๆในทันทีนั่นเอง...
ลักษณะหุ้นกู้ (Debenture) เป็นอย่างไร พูดง่ายๆเลยนะครับ กล่าวคือ เมื่อเราซื้อหุ้นกู้ เราจะมีฐานะเป็น เจ้าหนี้ ส่วนบริษัทที่ออกหุ้นกู้ จะมีฐานะเป็น ลูกหนี้ ซึ่งความเป็นเจ้าหนี้ของเราสามารถเป็นได้หลายแบบตามลักษณะของหุ้นกู้ (Debenture) เช่น มีประกันหรือไม่มีประกัน ด้อยสิทธิหรือไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น หุ้นกู้ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด เป็นต้น...
แต่ในกรณีเป็นหุ้นกู้มีประกัน แสดงว่า หุ้นกู้นี้มีการให้หลักประกันแก่เรานั้นเอง อาทิ เช่น ที่ดิน อาคาร อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ เพราะถ้าหากบริษัทเกิดมีปัญหา ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นให้เราได้ เราจะมีสิทธิในหลักประกันนั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ให้เราก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆนั้นเอง...
ทั้งนี้ นะครับหุ้นกู้ (Debenture) เรายังสามารถจะจำแนกเป็นลักษณะที่เข้าใจง่ายได้ดังนี้...
1- วัตถุประสงค์ของหุ้นกู้ (Debenture) เพื่อเป็นการระดมทุน จากประชาชน ด้วยวิธีการกู้เงินในระยะยาว
2- ผู้ถือตราสารไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งมีความแตกต่างกับหุ้นสามัญที่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม
3- ผู้ถือตราสารมีสิทธิในการเป็นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
4- สิทธิพิเศษ คือ ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
5- ผลตอบแทนของหุ้นกู้ คือ ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตามระยะเวลา และ ตามอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน เมื่อสิ้นสุดอายุตามระยะเวลาที่กำหนด...
ทั้งนี้ นะครับหุ้นกู้ (Debenture) เรายังสามารถจะจำแนกเป็นลักษณะที่เข้าใจง่ายได้ดังนี้...
1- วัตถุประสงค์ของหุ้นกู้ (Debenture) เพื่อเป็นการระดมทุน จากประชาชน ด้วยวิธีการกู้เงินในระยะยาว
2- ผู้ถือตราสารไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม ซึ่งมีความแตกต่างกับหุ้นสามัญที่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม
3- ผู้ถือตราสารมีสิทธิในการเป็นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
4- สิทธิพิเศษ คือ ได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
5- ผลตอบแทนของหุ้นกู้ คือ ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตามระยะเวลา และ ตามอัตราที่กำหนด โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินต้นคืนครบถ้วน เมื่อสิ้นสุดอายุตามระยะเวลาที่กำหนด...
ทั้งนี้หุ้นกู้ (Debenture) ที่ออกมาจำหน่ายแก่นักลงทุนจะต้องระบุข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
1- ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน หรืออายุหุ้นกู้ (Debenture)
2- มูลค่าที่ตราไว้ หรือ มูลค่าเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเป็นเงินต้นที่ผู้กู้ ต้องชำระคืน ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน
3- อัตราดอกเบี้ย ที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้ ซึ่งแสดงถึงร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ โดยมักจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายครึ่งปี
1- ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน หรืออายุหุ้นกู้ (Debenture)
2- มูลค่าที่ตราไว้ หรือ มูลค่าเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเป็นเงินต้นที่ผู้กู้ ต้องชำระคืน ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน
3- อัตราดอกเบี้ย ที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้ ซึ่งแสดงถึงร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ โดยมักจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายครึ่งปี
สิทธิพิเศษหลักๆของหุ้นกู้ (Debenture) สรุปง่ายๆเราจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ และหุ้นกู้ (Debenture) ยังจัดเป็นหลักทรัพย์ที่ให้รายได้ประจำ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นของหุ้นกู้ ได้ระบุไว้อย่างแน่นอน ณ เวลาที่กำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่ตลอดอายุหุ้นกู้ ดังนั้นผู้ซื้อหรือผู้ถือหุ้นกู้ (Debenture) จะทราบถึงกระแสเงินสดในอนาคตที่จะได้รับนับจากวันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน การลงทุนในหุ้นกู้นั้น นักลงทุนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น จะขึ้นอยู่กับความมั่นคงและฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออก ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นกู้จะมีความเสี่ยงสูงเสมอไป เนื่องจากบริษัทเอกชนบางรายนั้นอาจมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมาก และโดยทั่วไป อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้จะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะและอายุเท่ากัน นั่นเอง...
ประเภทของหุ้นกู้ (Debenture) ในปัจจุบัน บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ได้ออกหุ้นกู้หลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้สนใจหุ้นกู้ของบริษัท และเพื่อให้บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ตัวอย่างของหุ้นกู้ที่มีออกจำหน่ายในปัจจุบัน เช่น
1- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
2- หุ้นกู้แปลงสภาพ
3- หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
4- หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น
5- หุ้นกู้ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด
การซื้อหุ้นกู้ (Debenture) คือการให้บริษัทกู้ยืมเงิน ดังนั้น ก่อนซื้อหุ้นกู้จึงต้องดูให้แน่ใจก่อนว่า บริษัทมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ฐานะการเงินเป็นอย่างไร เพราะสะท้อนว่าบริษัทมีเงินจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้เราได้หรือไม่ ซึ่งเราสามารถดูได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่จัดทำโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) อันดับความน่าเชื่อถือนี้จะใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 4 ตัวคือ A B C และ D โดยอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดเท่ากับ AAA และในแต่ละขั้นยังมีการย่อยเป็นบวกและลบ เช่น AA+ A- เป็นต้น ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB- ขึ้นไปถึง AAA จัดเป็นหุ้นกู้ที่อยู่ในระดับน่าลงทุน ส่วนอันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่า BBB- ถือเป็นหุ้นกู้ที่ควรระมัดระวังในการลงทุนนั่นเอง ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องศึกษาและฝึกตัดสินใจทางด้านปัจจัยอื่นๆประกอบการพิจรณาด้วย...
แน่นอนนะครับว่าก่อนลงทุนในหุ้นกู้ (Debenture) ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของหุ้นกู้ให้ดีย้ำนะครับว่าต้องศึกษาให้รอบครอบ ทั้งลักษณะ ผลตอบแทน ระยะเวลาลงทุน และเงื่อนไขของหุ้นกู้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งนะครับ... สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่าน้ก่อนนะครับ และกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สวัสดีครับ ----- ^_^ -----
แน่นอนนะครับว่าก่อนลงทุนในหุ้นกู้ (Debenture) ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของหุ้นกู้ให้ดีย้ำนะครับว่าต้องศึกษาให้รอบครอบ ทั้งลักษณะ ผลตอบแทน ระยะเวลาลงทุน และเงื่อนไขของหุ้นกู้ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนในทุกๆครั้งนะครับ... สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่าน้ก่อนนะครับ และกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สวัสดีครับ ----- ^_^ -----
Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4