ราคาทองคำของประเทศไทย..ราคาทองคำมาจากไหน... ใครกำหนด - Gold Price | ลงทุนในทองคำ - Gold Investment



ย้อนเวลากลับไปตอนที่ผมยังเป็นนักเรียนมัธยม ช่วงเวลาการเดินทางจะผ่านร้านขายทองทุกวัน ตอนนั้นก็เริ่มคิดสงสัยว่าทำไมราคาด้านหน้าร้านทอง ราคาซื้อ ราคาขาย มันเปลี่ยนได้ทุกวัน แล้วมันเปลี่ยนเพราะอะไร ทำไมถึงเปลี่ยน...แล้วใครเป็นผู้กำหนดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งหลายท่านคงอาจเกิดข้อสงสัยเหมือนกับผมในตอนนั้นว่า ทำไมราคาทองหน้าร้านถึงมีการปรับเปลี่ยนได้ทุกวัน บางวันเปลี่ยนกัน 4-5 ครั้งกันเลยทีเดียว แล้วเขาตั้งราคากันอย่างไร ...ราคาทองคำ...แท้จริงแล้วใครกำหนดกันหนออ?... 



วันนี้นะครับผมจะมาคลายข้อสงสัยกันว่าใครกำหนาดราคาทองคำในแต่ละวันของไทย  เพราะแท้ที่จริงแล้วการกำหนดราคาทองของประเทศไทยนั้น... ประกอบด้วยปัจจัยหลายๆอย่างรวมกัน โดยมีคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมค้าทองคำคอยกำกับดูแลในตลอดช่วงเวลาการซื้อการขาย... ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 




สำหรับในการกำหนดราคาทองคำของสมาคมค้าทองคำ จะอ้างอิงจากราคา Gold Spot บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองในต่างประเทศ แล้วจึงนำมาคำนวณกับค่าเงินบาท จากนั้น จะทำการแปลงหน่วยน้ำหนักทองคำจากหน่วย ounze ให้เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำของไทย คือ บาท โดยการตัดสินใจประกาศราคาทองในประเทศแต่ละครั้งนั้นทางสมาคมค้าทองคำจะต้องพิจาราณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศเป็นสำคัญด้วย...



หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกำหนดราคาของทองคำในประเทศไทย

ราคาทองคำในเมืองไทยโดยปกติจะเริ่มมีการกำหนดราคาตั้งแต่ตอนเช้า และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้วันละหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับความผันผวนของปัจจัยต่างๆที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก อาทิ การเมืองระหว่างประเทศ สงคราม การขึ้นดอกเบี้ยของ FED เป็นต้นนะครับ บางวันอาจมีการเปลี่ยนแปลงราคาหน้าร้านถึง 4 - 5 ครั้งกันเลยทีเดียว สำหรับราคาทองคำในเมืองไทย จะถูกประกาศครั้งแรกโดยสมาคมค้าทองคำ ในวลาประมาณ 9.30 - 9.50 น.ของแต่ละวันเป็นหลักก่อน... โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนในช่วงเวลาของ วันเสาร์-อาทิตย์ราคาจะไม่เปลี่ยนโดยจะใช้ราคาที่ประกาศครั้งสุดท้ายของวันศุกร์เป็นหลักนั้นเอง... ซึ่งในการกำหนดราคาทองของสมาคมค้าทองคำ สำหรับตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดราคาทองคำของไทย สามารถสรุปได้ 4 ข้อหลักๆดังนี้



1. ราคาทองต่างประเทศ Gold spot  คือการอ้างอิงราคา Gold Spot ในตลาดโลกก่อน...

เป็นราคาอ้างอิงทางอิเลกทรอนิกส์แบบเพียวๆ ซึ่งยังไม่ได้มีการบวก หรือลบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในการส่งมอบทองคำ เป็นการซื้อขายทองคำที่ไม่มีการส่งมอบ ซึ่งหากท่านพิจารณาดูราคา Gold spot จะเห็นว่ามีทั้งฝั่ง Bid และ Ask ซึ่งก็คือราคารับซื้อ และราคาขายออกนั้นเอง (หากใครเคยเทรด Gold Future และ CFDs จะมีความเข้าใจมากขึ้นนะครับ)ในการซื้อทองคำจากต่างประเทศนั้น ผู้ขายจะใช้ราคา Ask ในการคำนวณ ส่วนเมื่อเราขายกลับไปยังผู้ค้าทองคำต่างประเทศ จะใช้ราคา Bid ในการคำนวณ ดังนั้นทางสมาคมเองก็เช่นกัน ในการกำหนดราคาทองภายในประเทศก็ต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย ว่าสภาวะตลาดทองคำภายในประเทศเป็นเช่นไร เช่นมีความต้องการซื้อทองคำอย่างมากก็ต้องนำเข้าทองคำ หรือหากมีความต้องการขายทองคำจำนวนมากก็ต้องส่งออกเป็นต้นนะครับ



2. อัตราค่า Premium ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการนำเข้าและส่งออกทองคำ

คือการพิจารณาถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อ US ดอลล่าร์ บวกหรือลบค่า Premium จากผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ แล้วคำนวณออกมาเป็นเงินบาทไทยและเมื่อมีความต้องการซื้อทองคำจำนวนมากจากผู้สนใจลงทุนในทองคำ และปริมาณทองคำภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ร้านค้าทองจึงจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศซึ่งก็คือการซื้อจากผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าก็ต้องซื้อต่ออีกทอดหนึ่งจากผู้ค้าในต่างประเทศ โดยจะมีการคิดค่า Premium นั่นเเอง...ทองคำในประเทศไทยส่วนมากจะมีการนำเข้ามาจาก Australia - Singapore - Hongkong และ Switzerland ซึ่งค่า Premium ที่เกิดขึ้นก็คือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อที่นำเข้า หรือส่งออกทองคำ รวมถึงค่าขนส่ง ค่าความเสี่ยง ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าประกันภัยต่างๆ ซึ่งถูกกำหนดมาโดยผู้ค้าทองคำในต่างประเทศ ซึ่งเรียกง่ายๆว่าเป็นต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศเข้ามาขายให้ผู้บริโภคในประเทศนั้นเอง... โดยในการคำนวนจะนำราคา Gold Spot บวกค่า Premium ดังกล่าวนี้เข้าไปด้วย ซึ่งในทางกลับกัน เมื่อมีประชาชนมาขายทองคำแท่ง คืนให้กับร้านทองจำนวนมากๆ ร้านทองจำเป็นต้องทำการขายกลับคืนมาให้กับบริษัทผู้นำเข้า และผู้นำเข้าก็จะทำการขายคืนกลับไปให้กับผู้ค้าทองในต่างประเทศอีกทอดหนึ่งนั้นเอง... 



3. ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

คือการทำการแปลงหน่วยน้ำหนักทองคำจากหน่วย Ounce (ออนซ์) ให้เป็นหน่วยน้ำหนักทองคำของไทยที่เป็น บาท เพื่อการตัดสินใจประกาศราคาทองคำในประเทศไทยซึ่งค่าเงินบาทในการคำนวณราคาทองในประเทศ จะใช้อัตราการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกัน Gold spot และมีการใช้ราคาในฝั่ง Bid และ Ask เช่นเดียวกัน สำหรับในสภาวะวิกฤตของสถาบันการเงินเช่นปัจจุบัน แต่ละธนาคารก็จะบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปด้วยเช่นกัน..



4. Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ

คือทางสมาคมค้าทองคำจะต้องพิจารณาองค์ประกอบของ Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศร่วมในการพิจรณาประกอบด้วย นั้นเอง...คณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคม นอกจากจะพิจารณาราคา Gold Spot และค่า Premium และค่าเงินบาท ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัย Demand และ Supply ภายในประเทศด้วยเป็นหลัก เพื่อที่จะตัดสินใจประกาศราคาทองคำภายในประเทศ ณ ช่วงเวลานั้นๆ โดยตัวแทนคณะกรรมการกำหนดราคาทั้ง 5 ท่าน จะพิจารณาจากปริมาณ และราคาจากการซื้อขายระหว่าง  ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกทองคำ คือ -  ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าทองเยาวราช - ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าส่งทองคำ - ตัวแทนคณะกรรมการร้านค้าปลีกทองคำ - ตัวแทนคณะกรรมการผู้ลงทุนทองคำรายใหญ่ - ตัวแทนคณะกรรมการผู้ลงทุนทองคำรายย่อย นั้นเอง...



สรุปทั้งสี่ข้อแล้วสามารถแปลงเป็นสูตรคำนวนตามหลักคณิตสาสตร์ได้ดังนี้
สูตรการคำนวนราคาทองคำ - ราคาทองคำแท่ง 96.5%  =

 {(Gold Spot + Premium) x 32.148 x (อัตราแลกเปลี่ยน USD/THB) x 0.965} / 65.6

32.148 คือค่า น้ำหนักทองคำทรอยออนซ์ ต่อ 1 กิโลกรัม
65.6 คือ จำนวนบาททองคำที่แปลงมาจากทองคำ 1 กิโลกรัม
หมายเหตุ : ทั้งนี้ต้องพิจารณา Demand และ Supply ของทองคำภายในประเทศ เข้าไปจะได้ราคาทองคำที่แท้จริงออกมา...

จากที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้นคงพอจะทราบกันแล้วนะครับว่า การกำหนดราคาทองคำในประเทศไทยนั้นไม่ได้กำหนดได้ตามอำเภอใจของใครคนหนึ่ง เพราะว่าในทุกๆทุกภาคส่วนล้วนมีการซื้อและขายทองคำด้วยกันเอง ตลอดเวลาการซื้อขายของร้านค้าทองคำด้วยกันเองนั้นจะมีปริมาณที่มากกว่าการซื้อขายกับผู้ลงทุนทั่วไปหลายสิบเท่า... เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าสมาคมค้าทองคำประกาศราคาทองคำสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงจากตลาดต่างประเทศมากไป ร้านค้าทองคำด้วยกันเองจะมีการวิ่งเข้าหาซื้อ หรือเทขายกันเอง เพื่อสะท้อนถึงความต้องการทองคำของตลาดตามความเป็นจริง แต่ยังมีการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Demand และ Supply ทองคำภายในประเทศ สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และอื่น ฯลฯ เป็นต้น.. ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น จะเห็นว่าตลาดค้าทองคำของไทยนั้น เป็นตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และสามารถดำเนินไปด้วยกลไกลตลาดอย่างแท้จริงนั้นเองนะครับ ...สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ หากบทความนี้ท่านเห็นว่ามีประโยชน์ก็ ฝากกดติตาม ฝากกดไลฟ์ ฝากกดแชร์ กันด้วยนะครับ แล้วพบกันไหม่ในบทความต่อๆไปนะครับ สำหรับวัน ผมขอตัวลาไปก่อนสวัสดีครับ..

Article by : ดลรวี ภัทรกุลพิมล
Bloger : http://www.dolravee.com/
Facebook : https://goo.gl/qNF1ak
Youtube : https://goo.gl/F6d8A4
Twitter : https://goo.gl/4cFV6T
Google+ : https://goo.gl/UNkNBr

บทความที่ได้รับความนิยม

บทความยอดนิยมตลอดกาล