พืชดึงอาหารขึ้นไปใช้อย่างไร ? | คุยกับ อ.ตรี ตอน 2

 

เมื่อวานบทความเกิดจากมองเม็ดฝนที่ค่อยๆหล่นจากฟากฟ้า ทำให้เกิดความสงสัยว่าแค่น้ำฝนทำไมเมื่อร่วงหล่นลงมา กลับทำให้พืชพรรณพลิกฟื้นคืนสภาพสมบูรณ์ทั่วถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไม้เล็กไม้ใหญ่ แม้หญ้าแพรกที่เรี่ยติดดินก็ทะลึ่งรับความสดชื่น เพราะอะไรพวกเราก็พอรู้แล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาที่จะต้องรู้แบบคร่าวๆว่าพืชดึงธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างไร ?

บทความเรื่องพืชดึงอาหารขึ้นไปใช้อย่างไร? เมื่อมีแสงแดด พืชใช้น้ำอยู่ 2 กรณี คือ ในการคายความร้อนของแสงแดดที่สาดส่องลงมา เมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าสภาพที่พืชรองรับได้ พืชก็จะใช้ขบวนการนำความร้อนไปเปลี่ยนน้ำเป็นก๊าชแล้วคายออกมา ดังนั้นอากาศจะร้อนแค่ไหน เราเคยสังเกตุบ้างมั้ยว่าใบไม้ที่ตากแดดตลอดเวลา เมื่อเอามือจับดูจะมีอุณหภูมิที่เย็นปกติ นั้นเพราะเกิดขบวนการคายน้ำตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนอีกกรณีต้นไม้ใช้น้ำที่ดูดขึ้นมา บวกกับกาชคาร์บอนไดออกไซค์ที่ใบจับได้ทั้งในอากาศและสภาพแวดล้อม อาศัยแสงแดดเป็นตัวให้พลังงานและอาศัยสีเขียวคือคลอโลฟิลเป็นตัวนำโมเลกุลของน้ำและก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์มาจัดเรียงใหม่

ทำให้เกิดโมเลกุลของน้ำตาล และเหลือก๊าชออกซิเจนขับออกมา ซึ่งน้ำตาลดังกล่าวจะเป็นขบวนการเริ่มต้นของการนำไปแปรรูปสร้างส่วนต่างๆที่เป็น ราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล ที่นี้คงพอมองเห็นขบวนการเจริญเติบโตของต้นไม่เลาๆกันแล้ว และที่สำคัญ ขบวนการดังกล่าวของพืชจะเกิดขึ้นที่ใบที่มีส่วนที่เป็นสีเขียวเท่านั้น ดังนั้นพวกที่ชอบแต่งกิ่งแต่งใบอ่านแล้วก็คงรู้ฅำตอบนะ...

ที่นี้อาจต้องสงสัยว่าพืชดึงน้ำกับสารอาหารขึ้นไปที่ใบได้อย่างไร?


ผมสอนให้พวกเราหัดสงสัยแล้วเอาข้อมูลงานวิจัยมาประกอบการทำงาน เราก็จะมองเห็นภาพที่ชัดเจนแบบง่ายๆ คือ เมื่อมีแสงแดดพืชคายน้ำเพื่อลดและควบคุมอุณหภูมิภายในของพืช และน้ำอีกส่วนหนึ่งก็ใช้ในการปรุงเป็นอาหารที่นำไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆของพืช จึงเกิดกาขาดน้ำในท่อน้ำที่มีลักษณะคล้ายๆหลักการกาลักน้ำ พอน้ำด้านหนึ่งไหลออกก็จะเกิดแรงดูดอีกด้านนึง ในพืชก็เช่นเดียวกัน

ในท่อน้ำที่เคยวาดง่ายๆเพื่ออธิบายให้เห็นภาพเวลาบรรยาย ซึ่งจะโยงผลไปถึงราก ประจวบกับการคายน้ำออกของพืชก็จะทำให้น้ำในท่อน้ำ มีความเข้มข้นกว่าด้านนอก จึงเกิดขบวนการที่เรียกว่าการดึงสารละลายความเข้มข้นต่ำมาเจือจางความความเข้มสูงในราก จึงเกิดการดึงน้ำเข้ามาในราก ทีนี้คงมองเห็นขบวนการการดูดน้ำและธาตุอาหารแล้วนะ

ดังนั้น การแต่งกิ่งแต่งใบล้วนมีผลลดทอนการปรุงอาหารและการคายน้ำของพืช อีกทั้งการประเคนปุ๋ยเคมีในปริมาณมากๆ ล้วนมีผลต่อการออสโมซีส หรือ การดูดอาหารของพืช แบบนี้หายสงสัยกันยังว่าทำไม วัสดุฟื้นฟูดิน PRM ใช้ปุ๋ยเคมีแค่นิดเดียว

พรุ่งนี้จะเขียนบทความอีกตอน เรื่องการใส่ปุ๋ย และหากอากาศปิดหลายวันมีผลต่อพืชอย่างไร? จะแก้ด้วยวิธีไหน?

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^
 

บทความที่ได้รับความนิยม