การใส่ปุ๋ยในอากาศปิดหลายวันมีผลต่อพืชอย่างไร? | คุยกับ อ.ตรี ตอน 3


เมื่อวานเขียนบทความเล่าให้ฟังว่า เมื่อมีแสงแดด พืชใช้น้ำอยู่ 2 กรณีโดยเมื่อพืชคายน้ำเพื่อระบายความร้อนของแสงแดดที่สาดส่องลงมา ทำให้ปริมาณน้ำในโครงสร้างพืชลดลงนอกจากปริมตรน้ำในท่ออาหารลดลงแล้ว เกิดความเข้มข้นของน้ำในท่อน้ำ เนื่องจากพืชคลายน้ำออกไป จากเงื่อนไขใน 2 กรณี จึงทำให้เกิดแรงดูดซับในส่วนของรากขน ดูดซับน้ำจากภายนอกระบบรากขนพร้อมกับธาตุอาหารที่ละลายน้ำ และที่จุลินทรีย์ในดินแตกตัวให้เข้าสู่ระบบรากมาพร้อมน้ำ 

ด้วยน้ำที่เป็นสารละลายเหล่านี้ จะถูกดึงส่งต่อเซลล์ต่อเซลล์ของระบบท่อส่งน้ำเข้าสู่ใบพืชเพื่อเปลี่ยนน้ำและคาร์บอนไดออกไซค์ที่จับจากอากาศ และสภาพแวดล้อมเป็นน้ำตาล ก่อนเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งแล้วส่งต่อออกมาเปลี่ยนรูปตามส่วนต่างๆ ของพืช

เมื่อทราบข้อมูลคร่าวๆ ที่ทวนให้แล้ว ที่นี้ก็จะขอทวนเรื่องเมื่อพืชดูดน้ำและธาตุอาหารเข้าระบบรากโดยการออสโมซีส ความเข้มข้นภายในรากจะต้องสูงกว่าบริเวณรอบรากขน ขบวนการ ออสโมซิส (Osmosis) จึงจะเกิดความสมบูรณ์ หากว่าความเข้มข้นของธาตุอาหาร และน้ำมีความเข้มข้นสูง ก็จะเกิดขบวนการที่เรียกว่า พลาสโมไลซิส (Plasmolysis) คือน้ำในนะบบรากจะถูกดึงออกสู่ภายนอกระบบราก ทำให้พืชสูญเสียน้ำ พืชจะแสดงอาการเหยี่ยวเฉาหากสูญเสียน้ำมากๆ อาจทำให้พืชช๊อกตาย ที่พวกเราเรียกว่าใส่ปุ๋ยจนดินเค็มไป

จากเหตุผลดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า หากเราจะใส่ปุ๋ยต้องใส่เป็นระยะยิ่งทุกวันได้ยิ่งดี แต่ใส่น้อยๆ ใส่แบบเจือจาง เพราะพืชต้องการธาตุอาหารที่เป็น ธาตุคาร์บอน ไฮโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก ส่วนอื่นอีกสิบกว่าตัวไม่ว่าจะเป็น N P K ที่บอกว่าใช้เยอะแล้วรวมกับธาตุย่อยธาตุเสริมตัวอื่น ยังไม่ถึง 1% ของน้ำหนักต้นเลย ดังนั้นการใส่ธาตุอาหารให้พืชต้องรู้จักพิจารณา 

งานวิจัย PRM จึงพัฒนาวิชาการใส่ปุ๋ยที่มีทั้งส่วนกินได้ทันที และฝากไว้กับวัสดุที่ผสมคลุกเคล้าลงไปให้ อีกทั้งวัสดุดังกล่าวได้นำวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตรมาใช้ซึ่งในวัสดุดังกล่าวก็คือซากพืชซากสัตว์ที่ก่อตัวมาจากธาตุอาหาร เมื่อสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาการได้ครบ ในส่วนนั้นเราจึงค่อยมาดูว่าพืชผลิใบใหม่แสดงอาการขาดธาตุอะไร? ในกรณีนี้จึงค่อยเติมเสริมเพิ่ม จึงเกิดวัสดุปรับปรุงดินสูตร 4 ในรูปปุ๋ยสูตรน้ำให้ทุกคนได้ใช้ผสมเพิ่มเติมใน สูตร 2 และ สูตร 3

ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ยในปัจจุบัน ที่พวกเราใส่ปุ๋ยเคมี N P K ที่ผ่านมา ผมไม่ขอวิจารณ์เยอะ แต่จะชี้เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเราเลี้ยงลูก เราสามารถที่จะตามใจหรือมักง่ายกับลูกได้ แต่จะนำมาซึ่งการขาดธาตุอาหารแบบไม่สมดุลย์

ลูกเราสามารถที่จะกินเนื้อสัตว์ต้มเปล่าๆบวกกับข้าวเปล่าทุกวันได้ แต่เมื่อกินไปนานๆ ลูกเราก็จะเกิดอาการขาดเกลือแร่ และวิตามิน เช่นเดียวกับพืช ด้วยความที่เกษตรกรไม่รู้ซึ้งถึงความจริงของการใส่ธาตุอาหารและเข้าใจว่ายิ่งใส่เยอะยิ่งดี เหล่านี้ที่งาน  PRM ต้องเสาะหาความจริงมาให้ชาวเราได้ใช้เป็นหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง 

คงจะขอพรุ่งนี้ต่อเนื้อหาให้ เพราะวันนี้ทั้งฟอกไต และงานเต็มไปหมด พรุ่งนี้แต่เช้าจะต่อเนื้อหาให้อีกทีนะฅรับ...

บทความ : อาจารย์ ตรี รัชยุทธ วรรณศิริบุญ
นักวิชาการอิสระ และ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายเกษตรรุ่นใหม่พัฒนา PRM

ชุดความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมศาสตร์ฟื้นฟูดิน PRM เจาะลึก สุดถึงแก่น สู่ความยั่งยืน

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

บทความที่ได้รับความนิยม