ด้วยหัวใจในจิตอาสา ผสานความเป็นนักพัฒนาชุมชน ทำให้ จ่าโทโกเมศร์ ทองบุญชู ได้ใช้ศักยภาพในทุกมิติ สรรค์สร้าง ชุมชน เศรษฐกิจ ภาคใต้ เข้มแข็งอย่างยั่งยืน... และด้วยบริบทของพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มักพบอุทกภัยครั้งใหญ่ๆ อยู่บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็น มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก มหาอุทกภัยกะทูน และมหาอุทกภัย ปี 59-60 ฯลฯ แต่เหตุจากความสูญเสียทำให้เกิดการถอดบทเรียน แล้วพัฒนาเป็น “โมเดลระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่น” และยังเป็น ต้นแบบเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชน เพื่อนพึ่ง(ภา) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
สร้างผลงานประจักษ์จนเป็นที่ยอมรับในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งได้ร่วมนำเสนอใน เวทีสหประชาชาติ รวมถึงบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาวะชุมชน ของสถาบันการศึกษา เพื่อมุ่งเน้นให้ กระบวนการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน กระจายทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งกับเศรษฐกิจฐานราก เพราะเราห้ามภัยพิบัติไม่ได้ แต่เราอยู่ร่วมกับสิ่งนั้นได้โดยจัดการตนเอง ด้วยการป้องกันให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ทุกวิกฤติก็จะผ่านพ้นไปความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน ย่อมเกิดขึ้นเมื่อเราพึ่งตนเองได้... และเรามาล้อมวงสนทนาทำความรู้จักกับ โมเดลระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่น เป็นเช่นไร? โมเดลระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนภาคประชาชน คืออะไร? เรามาทำความรู้จักและร่วมเสวนากับ จ.ท.โกเมศร์ ทองบุญชู ประธานต้นแบบเครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ในเวทีเสวนา คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน แห่งนี้...
โมเดลระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนภาคประชาชน ระบบอาสาสมัคร
โมเดลระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนภาคประชาชน แผนจัดการภัยพิบัติ
เรียบเรียง โดย
ดลรวี ภัทรกุลพิมล
โปรดิวเซอร์ รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน
Youtube : https://www.youtube.com/@BestForSociety
Fa
cebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100083644242691
Fa
cebook Group : https://www.facebook.com/groups/3312769188999413
Website : https://www.dolravee.com/