โมเดลเกษตรสวนยางยั่งยืน เศรฐกิจยุคใหม่เพื่อชุมชน | คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน EP. 69

 

คุณ วีระพัฒน์  เดชารัตน์  ตำแหน่งปัจจุบัน หัวหน้ากองพัฒนาผลผลิต ฝ่ายส่งเสริมพัฒนาการผลิต การยางแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่ กูรู นักวิชาการ นักปฏิบัติการลงพื้นที่สวนยาง สั่งสมประสบการณ์กว่า 30 ปี ตกตะกอนความรู้สู่ภาคบริหารอีกร่วม 10 ปี กับโจทย์ใหม่ที่ท้าทาย ทำอย่างไรให้ชาวสวนยางรายย่อย(พื้นที่ทำกินต่ำกว่า 10 ไร่)มีรายได้พอเพียงกับการดำรงชีพสร้างความยั่งยืนในอาชีพสวนยางสืบต่อไป... 

องค์ความรู้ที่จะช่วยเกษตรกรไทยที่ไม่ใช่แค่ชาวสวนยางแต่ หมายรวมถึง ภาคเกษตรในประเทศไทยที่มีราวกว่า 40% จะสร้างความยั่งยืนให้ตนเองได้ ในวันที่เกษตรกรรม อาจไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่เป็นอีกหนึ่งทางรอดของเศรษฐกิจไทย... 


 คำคม  “ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและความคิดเพื่อชีวิตจะเปลี่ยนตาม”

ประวัติการทำงาน

  • อดีต หัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
  • อดีต ผู้อำนวนยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
  • อดีต หัวหน้ากองสวัสดิการเกษตรกร ฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร(สำนักงานใหญ่)
  • ปัจจุบัน หัวหน้ากองพัฒนาผลผลิต ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต (สำนักงานใหญ่)

คุณ วีระพัฒน์ เดชารัตน์ หัวหน้ากองสวัสดิการเกษตรกร ฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กยท. บอกว่าตามพระราชบัญญัติการยาง เงินในมาตรา 49 (5) นั้น คณะกรรมการการยางพาราแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร กยท. ได้มีนโยบายมุ่งเน้นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราทางด้านสวัสดิการ เพื่อให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสวัสดิการตามข้อบังคับมี 4 เรื่อง 

เรื่องที่ 1 การดูแลสวนประสบภัย
เรื่องที่ 2 เงินชดเชยในกรณีเสียชีวิต
เรื่องที่ 3 การช่วยเหลือดูแลผู้ประสบความเดือดร้อน และ
เรื่องที่ 4 เรื่องอื่นๆ 

ที่ทางคณะกรรมการ กยท. ได้กำหนดขึ้นมาตามกรณีศึกษาของคณะทำงานอนุศึกษาสวัสดิการฯ ที่มีเพิ่มเติมเข้ามาซึ่งโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพจัดอยู่ในสวัสดิการส่วนที่ 4 โดยการเพิ่มโครงการพัฒนาอาชีพเพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรสวนยางเป็นมืออาชีพในการทำอาชีพเสริมมากยิ่งขึ้น 

โครงการนี้ เรามองว่า ปัจจุบันหรือในอนาคต พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง หากมุ่งเน้นแต่เพียงรายได้จากการทำสวนยางก็คงจะไม่เพียงพอในการหาเลี้ยงครอบครัว หรือความมั่นคงทางรายได้ก็จะไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีอาชีพเพิ่มเสริมเข้ามา ซึ่งการที่เราจะไปส่งเสริมให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรประกอบอาชีพเสริมนั้น สิ่งหนึ่งที่เรากลัว คือ พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางไปลงทุนและจะเกิดความล้มเหลว...

เพราะฉะนั้นแนวคิดของโครงการนี้ที่เกิดขึ้นมาก็เพื่อต้องการให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความประสงค์ที่อยากจะประกอบอาชีพเสริม ให้ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ ละ 30 คน ซึ่งทาง กยท.จะไปจัดหาวิทยากรเฉพาะทางในเรื่องนั้นๆ มาให้ความรู้ว่าอาชีพนี้ทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ มีวิธีรับมืออย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความล้มเหลวผิดพลาดตามมา...




 
โดยโครงการนี้จะมีการจัดอบรมขึ้นเป็นเวลา 2 วัน และในวันที่ 2 จะให้เป็นการดูงานของจริง และมาวิเคราะห์เพื่อนำไปศึกษาต่อ เพื่อประกอบอาชีพต่อยอดจากโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่ทางเราได้จัดทำขึ้น อีกทั้งทาง กยท. ยังมีเงินขวัญถุงให้สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้ารับการอบรมส่งเสริมการประกอบอาชีพ ถือเป็นปัจจัยการผลิตขั้นต้นให้กับพี่น้องเกษตรกร อาทิเช่น หากอบรมเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงไก่ เมื่ออบรมเสร็จสิ้นก็จะมีแม่พันธุ์ไก่ให้กับทางเกษตรกร ซึ่งโครงการนี้ทาง กยท. เราก็จะแนะนำเกษตรกรให้ไปต่อยอดในส่วนของเงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ประเด็นที่เราจะแนะนำก็คือการกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเสริมนั่นเอง...




การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รวม 3 องค์กรที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าด้วยกัน คือ สถาบันวิจัยยาง (สวย.)  สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  • เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินของกองทุน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางพารา
  • ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศเกี่ยวกับยางพารา
  • ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางด้านวิชาการ การเงิน การผลิต การแปรรูป การอุตสาหกรรม การตลาด การประกอบธุรกิจ และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น
  • ดำเนินการให้ระดับราคายางพารามีเสถียรภาพ
  • ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนและการปลูกใหม่

(เว็บไซต์: http://www.raot.co.th)

Facebook Live :  https://www.facebook.com/TheBestForSociety/videos/1437919527059307/

ครูพี่ลี ดลรวี ภัทรกุลพิมล
โปรดิวเซอร์ รายการ คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน
Bloger   :    http://www.dolravee.com/
Facebook :    https://goo.gl/qNF1ak
Youtube  :    https://goo.gl/F6d8A4

 

คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน รายการที่จะนำคุณไปสัมผัสกับ อัตลักษณ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดดีๆ จากบุคคลต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้าง คุณภาพชีวิตทีดี อย่างยั่งยืน

  • ออกอากาศทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วิทยุเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคกลาง AM 1467 KHz ทุก วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น. - 19.00 น. และ
  • ออกอากาศทางช่องทาง Live Streaming ผ่าน Facebook Live "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ทุก วันพุธ เวลา 19.00 น. - 21.00 น. และ
  • สามารถมารับชมย้อนหลังผ่านทาง Youtube ช่อง "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" ได้อีกช่องทางหนึ่ง...

เพจ & Youtube : รายการคุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน

เกี่ยวกับเรา : รายการ "คุณภาพชีวิตดีที่บ้านฉัน" พวกเราคือใคร?

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ ฝากช่วยกันแชร์ บทความนี้ส่งต่อๆ ออกไปสู่กลุ่มผู้คนวงกว้างให้ได้รับคุณประโยชน์... แบ่งปันความรู้ดีๆ กันนะครับ หนึ่งความรู้ หนึ่งความคิดดีๆ อาจจะเปลี่ยน ช่วยเหลือ ผู้คน และสังคมได้นะครับ และที่สำคัญสิ่งเล็กๆ ที่ท่านทำในวันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ ขอขอบคุณทุกท่านจากหัวใจ ไว้ ณ โอกาสนี้นะครับ... แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปนะครับผม ^_^

บทความที่ได้รับความนิยม